กรดไหลย้อน โรคในระบบทางเดินอาหารที่ต้องใส่ใจ
กรดไหลย้อน : ระบบทางเดินอาหารของคนเรา เริ่มต้นที่ปาก ไล่ลงไปในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก-ใหญ่ แล้วไปจบที่ทวารหนัก หากส่วนใดส่วนหนึ่งมีการทำงานที่ผิดปกติ ย่อมมีความไม่สบายกายเกิดขึ้น ท่านที่ใส่ใจสุขภาพตัวเองเป็นประจำ ย่อมสามารถสังเกตพบความผิดแปลกได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้เกิดการรักษาได้อย่างรวดเร็ว
โรคกรดไหลย้อน หรือ Gastroesophageal reflux disease (GERD) เป็นตัวอย่างหนึ่งของโรคในระบบทางเดินอาหารที่มีสถิติผู้ป่วยในเอเชียราว 10% และในทวีปโซนยุโรปมากกว่าถึง 20-30 % จะเห็นได้ว่าเป็นตัวเลขมิใช่น้อย และภาวะของโรคยังกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอย่างมะเร็งในหลอดอาหารได้ด้วยค่ะ
ดังนั้น ในบทนี้ เรามาทำความรู้จักกับโรคกรดไหลย้อนในแง่มุมต่าง ๆ ให้มากขึ้น เพื่อการสังเกตตัวเองและคนใกล้ชิด รวมถึงใส่ใจพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นกรดไหลย้อนกันดีกว่าค่ะ
1. สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
โดยปกติแล้วเมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป อวัยวะในระบบทางเดินอาหารนับจากหลอดอาหารลงไปจะเกิดการบีบตัว (peristalsis) แบบไล่อาหารลงไปข้างล่างในทิศทางเดียว และตำแหน่งเหนือกระเพาะอาหารของเราทุกคน จะมีกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อควบคุมไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารลอดผ่านขึ้นมาระคายเคืองหลอดอาหารเวลาที่กระเพาะบีบตัวย่อยอาหารนั่นเอง
หากกล้ามเนื้อหูรูดหย่อนตัวกว่าปกติ ก็จะทำให้กรดไฮโดรคลอริค (hydrochloric acid) ซึ่งมีความเป็นกรดสูง (ค่าความเป็นกรด pH=2) ไหลย้อนขึ้นเวลาที่เรารับประทานอาหารลงไป จึงเกิดอาการแสบร้อนในช่วงอก มีเสมหะ ไอแบบเป็น ๆ หาย ๆ บางรายจะทำให้เสียงแหบเพราะกรดไปสัมผัสบริเวณกล่องเสียงและช่องคอด้วยค่ะ
2. ปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อน ไม่ใช่โรคติดเชื้อ แต่เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดจากหลาย ๆ ปัจจัยเสี่ยงประกอบเข้าด้วยกัน ดังนี้
- บริโภคอาหารมากเกินพอดีในแต่ละมื้อ ทำให้กระเพาะแน่น เมื่อบีบรัดตัวจะเกิดการขย้อนหรือกรดไหลย้อนขึ้นมาด้านบนง่ายค่ะ
- นิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด เนื้อติดไขมัน ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลาย่อยนาน
- ดื่มกาแฟเป็นประจำ เพราะในกาแฟมีสารคาเฟอีน (Caffeine) ซึ่งมีงานวิจัยยืนยันว่ามีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งกรดจากกระเพาะอาหารมากยิ่งขึ้น
- บริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือ รับประทานขนมหวานยอดนิยมอย่างช็อคโกแลต จะทำให้กล้ามเนื้อภายในกระเพาะคลายตัว กระเพาะอาหารจึงบีบตัวช้าลง ทำให้อาหารค้างในกระเพาะนานขึ้น จึงเป็นกรดไหลย้อนได้ค่ะ
- บริโภคอาหารที่มีรสเปรี้ยวเผ็ด ทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารง่าย
- ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน (โดยดูจากค่าดัชนีมวลกายหรือค่า BMI* ที่คำนวณได้เท่ากับ 23 ขึ้นไป) จะไปเพิ่มระดับความดันในช่องท้องและกระเพาะอาหาร กรดจึงขย้อนไหลย้อนง่ายค่ะ
*วิธีการคำนวณค่า BMI คือ นำค่าน้ำหนักตัวของท่าน (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง เป็นเมตร ยกกำลังสอง) เช่น ท่านหนัก 65 กิโลกรัม สูง 158 เซนติเมตร
BMI = 65 / (1.58)ยกกำลัง 2
BMI = 65 / 2.4964
BMI = 26.03
- ปัจจัยร่วมอื่น ๆ
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว โรคกรดไหลย้อนยังพบได้ในบ่อยในผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ผู้ที่ชอบสวมเสื้อผ้าฟิตรัดแน่น หรือ ผู้ที่มักเอนตัวนอนหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ (มักพบในผู้ที่รับประทานอาหารมื้อค่ำใกล้เวลานอนมาก ๆ ค่ะ)
3. อาการของโรคกรดไหลย้อน
อาการที่เด่นชัดของโรคกรดไหลย้อน คือ ความรู้สึกแสบร้อนกลางช่วงอก กลืนอาหารลำบาก (เหมือนมีอาหารติดค้างกลางลำคอ) ควบคู่กับการเรอเหม็นเปรี้ยวบ่อย ๆ รู้สึกว่าในปากมีรสเปรี้ยว บางรายอาจรู้สึกเจ็บคอ เสียงแหบและไอเรื้อรัง
ซึ่งหากปล่อยให้อาการเป็นมากขึ้นไปถึงระดับรุนแรง จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคไซนัสอักเสบ ถ้ากรดไหลย้อนไปถึงตำแหน่งหลังโพรงจมูก รวมถึงโรคมะเร็งที่กล่องเสียงและมะเร็งในหลอดอาหารด้วยค่ะ
4. วิธีการรักษาโรคกรดไหลย้อน
การรักษาโรคกรดไหลย้อน โดยทั่วไปจะใช้ยารักษาตามอาการและความถี่ในการเป็น ซึ่งแบ่งยาที่นิยมใช้ได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
- ยาลดการสร้างกรดในกระเพาะโดยการปิดกั้นที่ตัวรับฮีสตามีน (Histamine type2 receptors หรือ เรียกว่ายากลุ่ม H2 Blockers ได้แก่ ตัวยา Cimetidine, Ranitidine, Famotidine และ Nizatidine
- ยาที่มีฤทธิ์ลดกรดในกระเพาะอาหาร โดยยับยั้งที่เอนไซม์ Proton Pump หรือ เรียกว่ายากลุ่ม Proton – Pump Inhibitors (PPIs) ได้แก่ ตัวยา Esomeprazole, Omeprazole, Lansoprazole, Rabeprazole และ Pantoprazole
- ยาที่ทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวมากขึ้น หรือเรียกว่า Prokinetic Agents เพื่อให้อาหารเคลื่อนตัวไปข้างล่างได้เร็วขึ้น หูรูดเหนือกระเพาะจะปิดได้สนิทดีขึ้น เช่น ตัวยา Domperidone, Metoclopramide, Cisapride และ Bethanechol เป็นต้น
- ยาลดกรมสูตรอัลจิเนต (Algenic acid) เช่น Gaviscon® มีส่วนผสมของโซเดียม อัลจิเนต, โซเดียม ไบคาร์บอเนต และแคลเซียม คาร์บอเนต กลไกคือ เมื่อยานี้เจอกับกรด จะค่อย ๆ พองตัวเป็นชั้นเจลเหนือกรดในกระเพาะ จึงลดอาการระคายเคืองจากกรดไหลย้อนได้ นิยมใช้ร่วมกับยากลุ่มอื่น ๆ ที่กล่าวมาค่ะ
กล่าวโดยสรุป
จากที่กล่าวมา ท่านคงเห็นแล้วว่า ภาวะกรดไหลย้อนเป็นโรคที่เราลดความเสี่ยงจากการใส่ใจรายละเอียดในชีวิตประจำวันให้มากขึ้นได้ โดยเฉพาะด้านการบริโภคอาหารและควบคุมสัดส่วนไขมันในอาหารแต่ละมื้อ การเลือกเสื้อผ้าสวมใส่ที่ไม่รัดแน่นเกินไป หมั่นออกกำลังกายไม่ให้น้ำหนักเกิน และที่สำคัญ คือ ไม่ควรรับประทานอาหารใกล้เวลานอนต่ำกว่า 3 ชั่วโมง
สำหรับผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนแล้ว ต้องใช้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่กับการรับประทานยาในขนาดความแรงและระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้โรคกรดไหลย้อนเป็นปัญหาใหญ่จนอาจลุกลามเป็นโรคอื่น ๆ ตามมาได้ค่ะ
แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจากเภสัชกร เพื่อประโยชน์ของตัวท่านและคนใกล้ชิด กับ uHealthy.co ( ยู เฮลท์ตี้ ) นะคะ
เภสัชกรหญิง กนกรัตน์ ไชยลาโภ
https://nokdinoschool.com/bio/
https://www.blockdit.com/dinoschool
คลิก!!! >>> กรดไหลย้อนรักษาได้!! ด้วยการปรับพฤติกรรมตัวเอง
คลิปน่าสนใจโรคกรดไหลย้อนค่ะ
โรคกรดไหลย้อน (GERD) Part 1 โรงพยาบาลพญาไท 2
โรคกรดไหลย้อน (GERD) Part 1
ขอบคุณคลิปจาก : Phyathai 2 Hospital
โรคกรดไหลย้อน (GERD) Part 2 โรงพยาบาลพญาไท 2
โรคกรดไหลย้อน (GERD) Part 2
ขอบคุณคลิปจาก : Phyathai 2 Hospital
ศูนย์กรดไหลย้อนและการกลืน โรงพยาบาลพญาไท 2
ศูนย์กรดไหลย้อนและการกลืน
ขอบคุณคลิปจาก : Phyathai 2 Hospital
– พื้นที่ประชาสัมพันธ์ –
ยากรดไหลย้อน Montra สูตรเร่งรัดเห็นผลไว
ยากรดไหลย้อนMontra
✅ไม่แสบร้อน
✅ไม่จุกแน่น
✅หายใจโล่งขึ้น
✅ท้องไม่อืด
👑มั่นใจได้ มีรางวัลรองรับ การันตีคุณภาพด้วยรางวัล “ตำรับยายอดเยี่ยม” (รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1)
❌ไม่ต้องจ่ายแพง
❌ไม่ต้องไปพบหมอ
❌ไม่ต้องผ่าตัด
ข้อมูลยากรดไหลย้อน Montra
✅1 กล่อง มี 50 แคปซูล
วิธีรับประทาน
✅2 เม็ดหลังอาหารเช้า
✅2 เม็ดหลังอาหารเย็น
ยากรดไหลย้อน Montra สูตรเร่งรัดเห็นผลไว