ช่องคลอดหดเกร็ง หรือ โรคจิ๋มล็อค ส่งผลต่อปัญหาในความสัมพันธ์ของคู่รักจริงหรือ

181
โรคจิ๋มล็อค

ช่องคลอดหดเกร็ง หรือ โรคจิ๋มล็อค อาการจิ๋มล็อคจนทำให้อวัยวะเพศชายของคู่รักติดเข้าไปอยู่ในอวัยวะเพศหญิงนั้นไม่ใช่แค่เรื่องเล่าขำๆ จากข่าวก็เห็นมาหลายกรณี ไม่ว่าจะเกิดภาวะจิ๋มล็อคในน้ำ หรือแม้แต่การเล่นสนุกกันบนเตียงแบบเบสิกจิ๋มล็อกก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน สาวๆ วัยเจริญพันธุ์หลาย ๆ คน คงเคยประสบปัญหา เนื่องจากไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอดได้ จนทำให้เกิดเป็นปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก อาจนำมาสู่การเกิดความแตกแยกในคู่ชีวิต โดยสาเหตุหนึ่งของอาการนี้ เรียกกันว่า ภาวะช่องคลอดหดเกร็ง หรือ โรคจิ๋มล็อคนั่นเอง ซึ่งในทางการแพทย์ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Vaginismus วันนี้ uHealthy.co จะมาบอกถึงสาเหตุวิธีการรักษากันค่ะ

Penis Captivus หรือ จิ๋มล็อค เป็นอาการที่เกิดจากอวัยวะเพศหญิงเกิดการหดเกร็ง หรือบีบรัดอย่างรุนแรง จนทำให้อวัยวะเพศชายไม่สามารถเข้าไปได้หรือขยับเขยื้อนถอนตัวออกมาได้ ซึ่งโดยสาเหตุที่ทำให้ฝ่ายหญิงเกิดอาการแบบนี้ เกิดจากการมีอารมณ์ร่วมขณะสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง หรือไม่ฝ่ายหญิงกำลังวิตกกังวลเช่นสถานที่ซึ่งเธอและเขากำลังจะทำอะไรนั้นไม่ใช่คุ้นเคย เป็นที่แปลกใหม่ เป็นที่สาธารณะ ทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของผู้หญิงเกิดอาการการบีบรัดตัวที่หนักหน่วง และส่งผลทำให้ผนังช่องคลอดหดตัวมากขึ้น และบางครั้งผลจากอารมณ์ความรู้สึกก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงเกิดอาการช่องคลอดหดตัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อผู้หญิงรู้สึกเครียด กลัว รู้สึกเจ็บ เกิดอาการเกร็ง หรือตื่นเต้นมาก ๆ ก็สามารถส่งผลไปยังช่องคลอดทำให้เกิดภาวะหดตัวมาก ๆ จนบางครั้งฝ่ายชายก็ไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนเองเข้าไปได้ หรือหากสอดใส่เข้าไปได้แล้ว บางทีก็อาจทำให้น้องชายเกิดการติดอยู่ภายในช่องคลอดได้นั่นเอง

ภาวะช่องคลอดหดเกร็ง คืออะไร?

ภาวะนี้พบได้ถึง 10 % ในเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยมักจะมีปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์ คือ เกิดอาการหดรัด อาการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน จนทำให้ไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าผ่านทางช่องคลอดได้ และในบางรายสามารถพบได้ตั้งแต่ครั้งแรกของการมีเพศสัมพันธ์ และบางรายพบตอนเคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนแต่เกิดอาการนี้แสดงขึ้นในภายหลัง
ภาวะช่องคลอดหดเกร็งนั้นสามารถแบ่งระดับความรุนแรงออกมาได้ 4 ระดับ โดยแบ่งความรุนแรงเหล่านี้จากการตรวจภายใน

  • ความรุนแรงระดับที่ 1 คือ สามารถผ่อนคลายได้ด้วยจากการตรวจภายใน
  • ความรุนแรงระดับที่ 2 คือ ไม่สามารถผ่อนคลายได้ด้วยจากการตรวจภายใน
  • ความรุนแรงระดับที่ 3 คือ ขณะตรวจ เวลายกก้นจะเกิดอาการเกร็ง
  • ความรุนแรงระดับที่ 4 คือ ขณะตรวจ เวลายกก้นจะมีการต่อต้านยกก้นเกร็ง ยกตัวลอย เกร็งขาหนีบ กระตุกตัว บางกรณีอาจมีอาการทางร่างกายอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ใจเต้นเร็วซึ่งมักจะเกิดในกรณีที่เป็นมาก

ภาวะช่องคลอดหดเกร็งเกิดจากอะไร?

สาเหตุภาวะช่องคลอดหดเกร็งนั้นเกิดได้หลายสาเหตุทั้งทางกาย เช่น วัยทอง, มีการอักเสบติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน, ได้รับการผ่าตัด หรือได้รับรังสีในการรักษาทำให้เกิดอาการเจ็บ อีกทั้งยังมีสาเหตุจากทางด้านจิตใจ อย่างเช่น ความกังวล ความกลัว ความเชื่อ และประสบการณ์ทางเพศ วัฒนธรรมจากสังคมรอบตัว และ ครอบครัว เป็นต้น

แต่ก็มีปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะช่องคลอดหดเกร็งอยู่หลายกรณี โดยถ้าแบ่งเป็นข้อสามารถแบ่งให้เข้าใจได้ง่าย ๆ 3 กรณีดังนี้

1. ปฏิกิริยาของสรีระคนเราโดยธรรมชาติ ซึ่งมักจะเกิดจากอารมณ์ร่วมรักที่ค่อนข้างรุนแรง
2. มีอาการเจ็บจากภาวะทางจิตใจ หรือภาวะทางกายจาก
3. มีเพศสัมพันธ์กันในน้ำหรือในทะเล

หากพบว่าตนเองมีอาการใกล้เคียงจากข้างต้น ให้สงสัยภาวะ Vaginismus ไว้ก่อนแล้วควรเข้ารับคำแนะนำ หรือปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้สามารหายขาดจากภาวะช่องคลอดหดเกร็งได้

ภาวะช่องคลอดหดเกร็ง รักษาได้หรือไม่?

การรักษาภาวะช่องคลอดหดเกร็งนั้นสามารถรักษาได้ด้วยทั้งการใช้ยา และการบำบัด ซึ่งผู้ที่มีอาการภาวะช่องคลอดหดเกร็งควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพื่อรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเพื่อสุขภาพทางเพศที่ดีขึ้น

กล่าวโดยสรุป

ภาวะช่องคลอดหดเกร็งนั้นสามารถแบ่งระดับความรุนแรงออกมาได้ 4 ระดับ โดยหากเกิดภาวะช่องคลอดหดเกร็งเกิน 2 ชั่วโมง แล้วยังไม่สามารถกลับเป็นปกติให้ไปหาหมอเพื่อที่จะฉีดยาคลายกล้ามเนื้อ หรือรักษาด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจริง ๆ แล้วฮอร์โมนเอสโตรเจนจะรักษาอาการปวดประจำเดือน แต่ที่จริงแล้วการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน เข้าไปเยอะ ๆ ยังสามารถช่วยในเรื่องของการเพิ่มความไวความรู้สึกของคริสตอริส และมันก็ทำให้เราสามารถเพิ่มความต้องการทางเพศได้ ไม่เพียงเท่านั้นสามารถทำให้อาการเจ็บปวดทางเพศลดลง สุดท้ายแล้วช่องคลอดก็จะกลับมาสู่ภาวะปกติ จากการ Research ยังพบว่าการฉีดโบท็อกซ์สามารถช่วยรักษาสภาวะการเกร็งของช่องคลอดที่เกิดจากสภาวะทางจิตได้เช่นกัน

แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co ในบทความต่อไปกันนะคะ