ปวดท้องประจำเดือน สัญญาณเตือนอะไร

564
ปวดท้องประจำเดือน
ปวดท้องปร

ปวดท้องประจำเดือนทำยังไงให้หาย มีวิธีรักษาไหม

ปวดท้องประจำเดือนหนึ่งปัญหากวนใจที่ผู้หญิงหลายทุกคนบอกเลยว่าสำหรับผู้ชายอาจจะไม่เข้าใจถึงความเจ็บปวดนี้ แต่สำหรับสาวๆทั้งหลายจะเรียกได้ว่ามันคือหายนะก็ว่าได้ ถ้าเลือกได้ผู้หญิง ร้อยทั้งร้อยก็ไม่อยากจะมีอาการปวดท้องประจำเดือนกันหรอกค่ะ เพราะว่าประจำเดือนมาแต่ละครั้ง มันไม่ได้ปวดท้องแค่วันที่มาเท่านั้น แต่มันจะเริ่มปวดท้องตั้งแต่ก่อนวันมาเสียอีก แม้กระทั่งวันที่ใกล้จะหมดประจำเดือนก็ยังคงปวดท้องอยู่ เรียกได้ว่าผู้หญิงคนไหนเกิดมาแล้วไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับการปวดประจำเดือน ผู้หญิงคนนั้นคือคนที่โชคดีมากเลย วันนี้ uHealthy.co เลยจะมาอธิบายถึงสาเหตุของการปวดท้องประจำเดือนให้ผู้ชายหลายคน รวมทั้งผู้หญิงด้วยกันเองได้เข้าใจกันมากขึ้นค่ะ

ปวดท้องประจำเดือนคือ

ปวดท้องประจำเดือน คือ อาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-2 วัน โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงมักจะมีอาการระหว่างมีประจำเดือนในช่วงวันแรกๆ หรือปวดระหว่างมีรอบเดือนในช่วงวันแรกๆ จะมีอาการปวดหน่วง ปวดเกร็ง หรือปวดขั้นรุนแรงแถวๆบริเวณท้องน้อย บ้างก็มีอาการ ปวดหลัง ปวดตัว แขน ขา ท้องเสีย ท้องผูกร่วมด้วย

ประเภทของอาการปวดประจำเดือน

ประเภทของอาการปวดประจำเดือนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆดังนี้

1.ปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ หรือที่เรียกว่า  Primary Dysmenorrhea เป็นการปวดท้องประจำเดือนที่พบได้บ่อยที่สุด สาเหตุเนื่องจากมีการผลิตสารโพรสตาแกลนดินที่เยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไป

2.ปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ หรือที่เรียกว่า  Secondary Dysmenorrhea เป็นการปวดท้องประจำเดือนที่เกิดได้จากภาวะผิดปกติของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น

  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หมายความว่าเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญนอกมดลูกนั่นเอง ต่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่แต่ยังคงสามารถมีประจำเดือนได้ปกติ นั้นก็เป็นสาเหตุทำให้ปวดท้องประจำเดือน ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงและเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก
  • เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก หมายความว่า จะมีอาการปวดท้องประจำเดือนเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังทำให้มีเลือดประจำเดือนมากและนานกว่าคนปกติทั่วไป
  • มีเนื้องอกนอกมดลูก ซึ่งจะมีตั้งแต่ขนาดเล็กมากไปจนถึงขนาดใหญ่มาก เนื้องอกอาจจะเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้ายก็ได้ แต่เนื้องอกนี้จะส่งผลทำให้มีประจำเดือนมากกว่าปกติ และในทางกลับกันอาจจะมีประจำเดือนแบบกระปริบกระปรอยแต่ระยะเวลาที่ประจำเดือนมานานร่วมสัปดาห์ ที่สำคัญจะทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือน และปวดหลังส่วนล่างตรงบริเวณแถวๆเอวด้านหลังร่วมด้วย
  • มีภาวะปากมดลูกตีบ ซึ่งภาวะนี้เกิดจากปากมดลูกมีขนาดที่แคบเกินไป ทำให้เวลาเลือดประจำเดือนไหลจะไหลได้ช้า และหากรูปากมดลูกปิดสนิท จะส่งผลให้ของเหลวค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก จนทำให้เกิดอาการปวดท้องประจำเดือนมาก
  • มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ซึ่งภาวะนี้เกิดจากการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ภายในผู้หญิง โดยส่วนมากจะเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การติดเชื้อนี้จะติดเชื้อที่ตำแหน่งดังนี้ บริแวณมดลูก บริเวณท่อนำไข่ และบริเวณรังไข่ หากผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบแล้วไม่รักษาให้หาย จะส่งผลให้มีอาการปวดท้องประจำเดือนได้

วิธีการบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน

  • ทานยาแก้ปวด และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกาย โดย การเดินเร็ว เล่นโยคะ จะช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ไม่มากก็ไม่น้อย
  • ประคบน้ำอุ่นบริเวณที่ปวดด้วยกระเป๋าน้ำร้อน
  • การแช่ตัวในน้ำอุ่นประมาณ 30 นาที จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน
  • นอนขดตัว การนอนขดตัวเป็นระยะเวลาไม่นานมากนัก จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณท้อง และช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้อีกด้วย
  • การนวดหน้าท้อง นวดเป็นวงกลมแบบเบาๆ โดยให้ออกแรงกดเบาๆ บริเวณท้องประมาณ 10 วินาที/ครั้ง วิธีนี้จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณท้อง อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน
  • การฝังเข็ม จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้ลดการคั่งค้างของเลือดได้อีกทั้งยังทำให้กล้ามเนื้อผนังมดลูกและรังไข่คลายตัวลง วิธีนี้ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้ โดยการฝังเข็มจะทำการฝังในช่วงก่อนการมีประจำเดือนประมาณ 2 อาทิตย์ และให้ฝังเข็มกระตุ้นอาทิตย์ละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรู้สึกถึงอาการปวดท้องประจำเดือน

 

กล่าวโดยสรุป

อาการปวดท้องประจำเดือน คือ อาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-2 วัน หรือจะมีอาการปวดหน่วง ปวดเกร็ง หรือปวดขั้นรุนแรงแถวๆบริเวณท้องน้อย ปวดหลัง ปวดตัว แขน ขา ท้องเสีย ท้องผูกร่วมด้วย โดยประเภทของอาการปวดประจำเดือนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ หรือที่เรียกว่า  Primary Dysmenorrhea และ ปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ หรือที่เรียกว่า  Secondary Dysmenorrhea ซึ่งสาเหตุก็เกิดได้จากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่, เยื่อบุมดลูกเจริญภายในกล้ามเนื้อมดลูก, มีเนื้องอกนอกมดลูก, มีภาวะปากมดลูกตีบ และ มีภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นต้น และวิธีการบรรเทาก็มีหลากหลายวิธีหากเป็นไม่มากก็ทานยาแก้ปวด ประคบร้อนบริเวณท้องน้อย หากเป็นมากอาจจะลองวิธีฝังเข็มเพื่อป้องกันการเกิดอาการปวดท้องประจำเดือนได้ แต่เพื่อความสบายใจแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ ขอคำแนะนำ จะดีกว่าค่ะ

แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co  ในบทความต่อไปนะคะ