ปวดท้องข้างขวา อาการที่ส่งสัญญาณบอก 7 โรคต้องระวัง

581
ปวดท้องข้างขวา
ปวดท้องข้างขวา

ปวดท้องข้างขวา : วันนี้ uHealthy.co จะมาคุยกันเรื่องอาการปวดท้อง 7 โรคที่ต้องระวังเมื่อท่านปวดท้องด้านขวา ท้องเรามีหลายด้าน โรคเราก็มีหลายอย่าง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านปวดท้องด้านขวา 7 โรคนี้ท่านต้องระวังค่ะ 7 โรคที่ต้องระวังเมื่อปวดท้องด้านขวา อาการเหล่านี้เมื่อรู้เร็ว ไปหาแพทย์เร็ว รักษาเร็วก็จะหายเร็วเช่นกันนะคะจะมีโรคอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

ปวดท้องข้างขวา อาการที่ส่งสัญญาณบอก 7 โรคต้องระวังเมื่อท่านปวดท้องด้านขวา

7 โรคที่ต้องระวังเมื่อปวดท้องด้านขวา

  1. ไส้ติ่งอักเสบ ไส้ติ่งของเรามีอยู่อันเดียวโดยส่วนใหญ่จะอยู่ด้านขวาและมีอาการปวดที่ด้านขวาแต่ไส้ติ่งอักเสบมันจะไม่ใช่แค่ปวดเฉยๆมันจะต้องมีอาการร่วมต่างๆเช่น ไข้ขึ้นสูง เบื่ออาหาร อาจจะมีท้องเสียถ่ายเหลวร่วมด้วย แบบนี้ให้นึกถึงไส้ติ่งอักเสบเป็นอันดับแรก ไม่ใช่ว่าปวดท้องด้านขวาล่างแล้วจะเป็นไส้ติ่งอักเสบอย่างเดียวอย่างนี้ไม่ใช่ ไส้ติ่งอักเสบช่วงแรกๆอาจจะตรวจยากนิดนึงเพราะว่ามันจะเริ่มต้นปวดมวลๆแถวๆบริเวณไส้ติ่งก่อนแล้วค่อยย้ายมาปวดด้านขวาล่างอันนี้เป็นขั้นตอนของอาการปวดไส้ติ่งอักเสบ แต่ว่าถ้าเกิดปวดด้านขวาล่างชัดเจนไข้ขึ้นสูง ถ่ายเหลว เบื่ออาหาร ให้รีบพบแพทย์ทันทีเพราะมีโอกาสเป็นไส้ติ่งอักเสบสูงมากแต่ก็อย่าลืมว่าด้านซ้ายก็เป็นไส้ติ่งได้เช่นกันไม่ใช่ว่าจะเป็นเฉพาะด้านขวาแต่ 90% มักจะพบว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบด้านขวา
  2. โรคเกี่ยวกับไต ไตของเรามีสองข้างจะปวดขวาหรือปวดซ้ายก็ได้อาการปวดจากโรคที่เกี่ยวกับไตก็คือโรคนิ่วในไต นิ่วในไตมีอาการปวดแต่จะมีเอกลักษณ์คือเรื่องของปัสสาวะที่จะมีสีคล้ำขึ้น มาเนื่องจากตัวนิ่วไปขูดผนังข้างในแล้วมีเลือดปนออกมา เพราะเลือดผสมกับสีปัสสาวะ ปัสสาวะก็จะออกเป็นสีโค้กนิดๆ สีปัสสาวะก็จะผิดปกติก็นั่นหมายความว่าจะมีเม็ดเลือดแดงปนออกมานั่นเอง ในบางครั้งก็จะพบไข้ขึ้นสูงร่วมด้วย ซึ่งพวกนี้ก็อาจจะมีภาวะกรวยไตอักเสบร่วมด้วยเช่นกันอย่างนี้ต้องรีบพบแพทย์โดยด่วน
  3. โรคตับอักเสบ ตับจะอยู่ใต้ชายโครงขวาเพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่ปวดใต้ชายโครงขวาร่วมกับมีตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งตาเหลืองตัวเหลืองจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับตับค่อนข้างชัดเจนมาก เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ตาเหลืองตัวเหลืองให้คิดเลยว่ามีภาวะอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับตับโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นตับอักเสบ เมื่อท่านเป็นตับอักเสบก็ให้รีบไปพบแพทย์ มีอาการตาเหลืองตัวเหลืองก็ให้รีบไปพบแพทย์ ให้รีบไปรักษาก็จะสามารถรักษาได้ดี ได้ทันท่วงทีโรคแทรกซ้อนก็จะน้อยลงตามมาเช่นกัน
  4. โรคนิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอยู่ใต้ตัวตับเพราะฉะนั้นเวลาปวดก็ปวดใต้ชายโครงด้านขวา อาการปวดเบื้องต้นถ้าเป็นนิ่วในถุงน้ำดีมักจะปวดหลังทานอาหารมื้อใหญ่ๆไปสักประมาณ 30 นาที หรือครึ่งชั่วโมง และจะปวดนานเป็นเวลา 2 ถึง 4 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ และอาการก็จะทุเลาลงนานนานจะเป็นสักครั้งหนึ่งถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆให้รีบไปพบแพทย์เพื่ออัลตราซาวด์ดูว่าเรามีนิ่วในถุงน้ำดีหรือเปล่า
  5. ปวดประจำเดือน อาการปวดท้องไม่จำเป็นต้องเป็นโรคร้ายแรง เป็นอาการปวดแบบชีวิตประจำวันปกติก็ได้ ก็คืออาการปวดประจำเดือนของผู้หญิงนั้นเองแต่มันจะต้องเป็นทุกเดือนไม่ใช่เป็นเดือนเว้นเดือน และอาการปวดประจำเดือนมักจะลดลงเรื่อยๆถ้าเริ่มหมดประจำเดือนหรือถ้าท่านมีบุตรอาการปวดประจำเดือนก็จะเริ่มลดน้อยลงเพราะว่าเวลามดลูกขยายตัวเส้นประสาทก็จะโดนทำลายไปรอบๆด้วยอาการปวดท้องประจำเดือน ปวดท้องด้านขวาก็จะลดลงเช่นกัน หากท่านต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการปวดประจำเดือนท่านสามารถอ่านได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้

    >>>    ปวดท้องประจำเดือน สัญญาณเตือนอะไร 

  6. ภาวะท้องนอกมดลูก ท้องนอกมดลูกเมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านปวดท้องด้านขวาหรือด้านซ้ายก็ได้ และมีการขาดประจำเดือนหรือคิดว่าน่าจะท้องแบบนี้ต้องระวังว่าอาจจะเกิดภาวะท้องนอกมดลูกก็ได้ถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆให้รีบไปพบแพทย์เพื่ออัลตราซาวด์ดูว่าเราอยู่ในภาวะท้องนอกมดลูกหรือเปล่า
  7. อุ้งเชิงกรานอักเสบ อุ้งเชิงกรานของผู้หญิงส่วนใหญ่จะพบมีกลิ่นเหม็นเป็นน้ำไหลออกมาจากอวัยวะเพศได้ เป็นหนอง มีไข้ขึ้นสูง มีอาการปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ได้ถ้าเป็นแบบนี้บ่อยๆให้รีบไปพบแพทย์เพื่ออัลตราซาวด์ดูว่าเราเป็นอุ้งเชิงกรานอักเสบหรือเปล่า

กล่าวโดยสรุป

และนี่คือ 7 โรคที่ท่านต้องระวังเมื่อท่านมีอาการปวดท้องด้านขวาซึ่งมี 7 โรคดังนี้ โรคไส้ติ่งอักเสบ โรคไส้เลื่อน โรคที่เกี่ยวกับไตนั้นคือโรคนิ่วในไต โรคตับอักเสบ โรคนิ่วในถุงน้ำดี ปวดประจำเดือน ภาวะท้องนอกมดลูก และภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวของแต่ละโรคอาจจำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจทำการอัลตร้าซาวด์ ทำการตรวจภายในก็จะบ่งบอกได้ว่าท่านเป็น 7 โรคที่ต้องระวังเมื่อปวดท้องด้านขวาหรือเปล่าซึ่งมันมีวิธีการรักษาโดยเฉพาะของมันค่ะ อาการเหล่านี้เมื่อรู้เร็ว ไปหาแพทย์เร็ว รักษาเร็วก็จะหายเร็วเช่นกันนะคะ

แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co ในบทความต่อไปกันค่ะ