ไมเกรน มาทำความรู้จัก และวิธีการรักษาโรคยอดฮิตของวัยทำงานกัน

515

ไมเกรน : วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับไมเกรน และออฟฟิศซินโดรม สองโรคนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วไมเกรนอันตรายต่อชีวิตไหม uHealthy.co ได้นำเกร็ดความรู้จากแพทย์หญิงลลิตพรรณ สุดประเสริฐแพทย์อายุรกรรมระบบประสาทสมอง โรงพยาบาลพญาไทนวมินทร์มาฝากกันค่ะ

ทำความรู้จักกับไมเกรน และวิธีการรักษาโรคยอดฮิตของวัยทำงาน

ปวดศรีษะปกติเกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง?

อาการปวดศรีษะต้องบอกก่อนว่ามีทั้งแบบมีพยาธิสภาพคือมีรอยโรคในสมอง กับหาพยาธิสภาพไม่เจอแต่ทำให้เกิดอาการปวดอาการปวดศีรษะขึ้นมา อาการปวดศรีษะแบบที่มีรอยโรคในสมอง อาจจะมีก้อนเนื้อ อาจจะเคยมีเส้นเลือดในสมองตีบ เลือดออกในสมองหรือเส้นเลือดผิดปกติในสมอง ทำให้ความดันของกะโหลกศรีษะเพิ่มขึ้นก็เลยปวดศรีษะ

ส่วนการปวดศรีษะที่ไม่มีพญาธิสภาพในสมองก็คือแบบไม่มีรอยโรคในสมอง ก็เช่นปวดหัวไมเกรน กล้ามเนื้อตึงตัว ปวดบีบรัด ปวดศรีษะแบบคลัสเตอร์ หรือเส้นประสาทอักเสบ

ปวดหัวทุกวันเลยอันตรายไหม?

การปวดหัวทุกวันอาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ปวดแล้วก็ต้องหยุดงานบ่อยๆ แต่จริงๆแล้วการปวดศรีษะแต่ละคน เขาเป็นไมเกรน เขาปวดจริงมีอาการรอบข้างจริง เช่นมีขึ้นไส้อาเจียนทำงานไม่ได้ เห็นแสงเจออากาศร้อนเจอแสงจ้าๆจะปวดมาก

ซึ่งมีทั้งอันตรายและไม่อันตราย แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตจริง มันจะมีอาการสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าอาการแบบนี้น่าจะปวดศรีษะที่รุนแรงหรือมีอันตรายสูง เช่นปวดศีรษะมากแบบ thunderclap headache ก็คือในชีวิตไม่เคยปวดในลักษณะนี้มาก่อนเหมือนฟ้าผ่า อันนี้สองแบบ night pain ปวดกลางคืน อันที่สาม คือมีพยาธิสภาพที่บ่งบอกว่ามีรอยโรคในสมอง มีแขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก เดินเซปากเบี้ยวหน้าเบี้ยว เห็นภาพซ้อน คลื่นไส้อาเจียนแบบรุนแรง ลักษณะนี้ก็จะบ่งบอกถึง red flag sign ของการปวดศีรษะ ถ้ามีสัญญาณพวกนี้ควรจะพบแพทย์ทันที

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนนี้เราปวดหัวเรื้อรังจะต้องปวดหัวติดต่อนานขนาดไหน?

องค์การปวดศีรษะนานาชาติ เขาให้คำนิยามว่า จะต้องเป็นการปวดศีรษะติดต่อกันมากกว่าสามเดือนซึ่งเขาทำการวินิจฉัยมาแล้ว ลักษณะหนึ่งของอาการไมเกรนโดยส่วนมาก มันจะต้องปวดตุ๊บตุ๊บ อาการไมเกรนเป็นอาการปวดศีรษะที่พบบ่อยมากที่สุด โดยเฉพาะในวัยทำงานวัยเจริญพันธ์ เพศหญิงอาจจะมากกว่าเพศชาย อาการปวดต้องปวดบ่อย โดยมากกว่าห้าครั้งขึ้นไป แต่ก็ไม่ใช่ว่าปวดแค่ครั้งสองครั้งแล้วหมอจะไม่คิดว่าเขาเป็นไมเกรน แต่อาจจะต้องติดตามดูต่อไป

ลักษณะการปวดต้องมีอาการปวดที่นานพอสมควร อย่างที่บอกก็คือนานได้ถึงสามวัน ปวดแบบตุ๊บตุ๊บมักจะเป็นข้างเดียว หรืออาจจะย้ายข้างได้ เวลาปวดจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน มีอาการเห็นแสงจ้า เสียงดังแล้วการปวดเป็นมากขึ้น อาการนี้ก็คือลักษณะที่น่าจะเป็นไมเกรน

 เราจะแยกได้อย่างไรว่าอันนี้ปวดศีรษะแบบไมเกรนหรือปวดศรีษะแบบออฟฟิศซินโดรม?

ออฟฟิศซินโดมเป็นโรคที่คนทำงานเป็นกันเยอะ ไมเกรนก็เป็นโรคที่คนทำงานเป็นกันเยอะ การวินิจฉัยไมเกรนก็มีเกณฑ์การวินิจฉัยอย่างที่บอกไปเบื้องต้น แต่ออฟฟิศซินโรมเนี่ยจะมีพวก Trigger point หมายถึงพวกจุดกดเจ็บ บางคนกดปุ๊บแล้วจี๊ดถึงใจ โดยจุดกดเจ็บเหล่านี้เกิดจากการที่กล้ามเนื้อของเรามันเกร็งตึงตลอดเวลา แล้วมันก็เกิดเป็นปมขึ้นมา อาจจะเป็นปมของก้อนเนื้อเส้นประสาท ทำให้หลั่งสารการอักเสบออกมา ซึ่งในออฟฟิศซินโดรมมันจะกระตุ้นไมเกรนได้ บางคนอาจจะมีอาการออฟฟิศซินโดรมหรือว่ากล้ามเนื้อตึงตัว แล้วไปกระตุ้นไมเกรนอีกทีนึง

ในคนนึงก็ปวดศีรษะได้หลากหลายรูปแบบ อาจจะมีทั้งออฟฟิศซินโดรมด้วยไมเกรนด้วย เพราะว่าไมเกรนเป็นโรคที่ไวต่อสิ่งแวดล้อม เวลาเราจ้องคอมนานๆหรือมือถือนานๆแล้วปวดหัว เราต้องมาดูก่อนว่าคนนั้นเป็นไมเกรนอยู่เดิมหรือเปล่า สมมุติว่าเป็นไมเกรนอยู่เดิมการที่เราจ้องคอมนานๆเราต้องใช้สายตา อาจจะมีภาวะตาแห้ง แล้วอย่างที่บอกแสงมันกระตุ้นทำให้เกิดอาการไมเกรนได้ รวมทั้งท่านั่งถ้าวางมือใช้คอมพิวเตอร์ต่างๆ ระยะโต๊ะทำงานกับเก้าอี้ พวกนี้กระตุ้นออฟฟิศซินโดรมได้

เพราะฉะนั้นพนักงานออฟฟิศที่คิดว่าตัวเองเป็นออฟฟิศซินโดรมหรือเปล่า หรือเป็นไมเกรนหรือเปล่า เขาอาจจะเป็นทั้งสองอย่างเลยก็ได้ เส้นเลือดจะมีการขยาย ถ้าเราเป็นไมเกรนมีสารสื่อประสาท สารเคมีในสมองกระตุ้นอาการปวด พอสารสื่อประสาทสารเคมีในสมองกระตุ้นอาการปวดปุ๊บ ส่งไปยังจุดส่วนรวมของความเจ็บปวด เส้นเลือดก็จะขยายตัว เพราะเส้นเลือดขยายตัวก็จะมีการหลั่งสารการอักเสบขึ้นมา เราอาจจะได้ยินเสียงตุ๊บตุ๊บของตัวเส้นเลือด

จริงหรือไม่ดื่มกาแฟทุกวันแล้วถ้าวันไหนหยุดจะทำให้ปวดหัว?

  • จริง เพราะสมองเรารับรู้แล้วว่าเราติดคาเฟอีน พอขาดสิ่งที่เราติด สมองมันก็ตอบสนองมาด้วยอาการปวดศีรษะ

จริงหรือไม่ปวดไมเกรนต้องปวดแค่ข้างเดียวข้างใดข้างหนึ่ง?

  • ไม่จริง การปวดไมเกรนมักจะปวดข้างเดียว แต่อาจจะปวดสองข้างก็ได้ หรือปวดสลับไปสลับมาก็ได้

จริงหรือไม่คนผมยาวมักจะปวดหัวมากกว่าคนผมสั้น?

  • ไม่จริง เรื่องเส้นผมไม่เกี่ยวกัน อาจจะเกิดจากการที่เขารัดตึง ทำให้มีการดึงรั้ง

จริงหรือไม่อาการไมเกรนมักกำเริบช่วงเวลาเช้า?

  • ไม่จริง อาการปวดศีรษะเวลาเช้าอาจเกิดจาก อันดับแรกคือนอนกรนถ้านอนกรนจะทำให้มีช่วงที่เราขาดออกซิเจนเวลาเรานอนหลับ แล้วร่างกายก็จะตอบสนองด้วยอาการปวดศีรษะเหมือนกัน อันดับสองคือเราติดกาแฟ เหมือนทุกเช้าเรากินกาแฟแต่พอเราตื่นสายนิดหน่อยร่างกายมันขาดคาเฟอีนไม่ได้รับค่าไฟอีนในเวลาเดิมมันก็จะตอบสนองด้วยอาการปวดศีรษะ อันดับสามคือเราติดยาแก้ปวด ในคนที่เป็นไมเกรนที่กินยาบ่อยๆ บางทีเรากินยาแก้ปวดเยอะเกินไปจนร่างกายเรามันติดยาแก้ปวด พอตื่นเช้ามาก็เหมือนคาเฟอีนเหมือนกันร่างกายต้องการยาแก้ปวดทันที ก็เลยแสดงออกมาด้วยอาการปวดศีรษะ อันที่สี่ก็คือถ้านอนเรานอนขดตัว หมอนสูงหรือต่ำเกินไปทำให้เราเกร็งกล้ามเนื้อเวลานอนตื่นมาเราก็เลยปวดศรีษะ

เพราะฉะนั้นไมเกรนจริงๆไม่จำเป็นต้องปวดตอนเช้า แต่ว่าไมเกรนมันดันเป็นโรคที่ไวต่อทุกอย่างไวต่อสิ่งกระตุ้น คนที่เป็นไมเกรนแล้วอาจจะเป็นทุกอย่างที่ตามมา มันก็จะทำให้ปวดหัวตอนเช้าด้วย

จริงหรือไม่ ง่วงตอนกลางวันไม่ได้นอนทำให้ปวดหัว?

  • จริง ไมเกรนถ้าเรานอนไม่เป็นเวลามันจะทำให้ปวดหัว เช่นกลางคืนบอกว่านอนเต็มเวลานะ เช่นนอนวันละ 6 ชั่วโมงแบบนี้ทุกวัน แต่ 6 ชั่วโมงที่ว่าของเมื่อคืนดันเปลี่ยนเวลา มันเลยทำให้ปวดศีรษะเพราะว่ามันไม่ใช่กิจวัตรประจำวันของสิ่งที่เราทำเป็นประจำ

การรักษาและบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน

ไมเกรนเป็นโรคที่รักษาได้ แต่อาจจะไม่ได้หายสนิท

1.การกินยา ยาจะมีสองแบบคือยากินลดอาการปวดเฉียบพลัน ยาลดอาการปวดมีหลายกลุ่ม กลุ่มแรกที่ใช้กินกันทั่วๆไปก็เป็นกลุ่มยาพาราเซตามอล ซึ่งอาจจะไม่ค่อยหายกลุ่มที่สองก็คือยาลดปวดลดอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาพวกนี้จะได้ผลดีขึ้นมากว่ายากลุ่มแรก กลุ่มที่สามก็คือยาที่จำเพาะเจาะจงต่อสารสื่อประสาท กลุ่มเซโรโทนิน อยากกลุ่มนี้จะได้ผลไวเพราะว่าตรงต่อพยาธิสภาพของการเกิดไมเกรนมากที่สุด

2.การกินยาป้องกันไม่ให้ไมเกรนเกิดบ่อย และถ้าเป็นความรุนแรงก็จะลดลง กลุ่มนี้มียาหลายประเภทให้เลือก แล้วแต่คุณหมอพิจารณาเลือกว่าเหมาะกับ คนไข้กลุ่มไหน สำหรับบางคนที่กลัวการกินยาในการกินยาแล้วมีผลข้างเคียง ยากลุ่มพวกนี้มีผลข้างเคียงน้อย มีให้เลือกหลายตัวแล้วไม่ได้กินไปตลอดชีวิต แต่กินช่วงสั้นสั้นประมาณสามเดือน หกเดือน หนึ่งปี แล้วค่อยๆลดยาลง ช่วงนั้นเราก็จะลดสิ่งกระตุ้นด้วยพอลดสิ่งกระตุ้นไมเกรนก็จะเกิดน้อยลง

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดไมเกรน

  • อากาศ แสงแดดบางคนเป็นอากาศร้อน บางคนเป็นอากาศเย็น
  • อาหาร เช่น ผงชูรส กาแฟ ช็อกโกแลต ชีส
  • กลิ่น เช่น กลิ่นของกิน บุหรี่ น้ำหอม
  • การนอนหลับ นอนเต็มที่แล้วแต่นอนผิดเวลา นอนมากเกินไปนอนน้อยเกินไปก็เป็นสิ่งกระตุ้นต่ออาการนี้ได้ ถ้าเกิดเรารถพวกสิ่งกระตุ้นนี้ได้ อาการไมเกรนเราก็จะเกิดน้อยลง

กล่าวโดยสรุป

การปวดไมเกรนมักจะปวดข้างเดียว แต่อาจจะปวดสองข้างก็ได้ หรือปวดสลับไปสลับมาก็ได้ โดยมีสิ่งกระตุ้นเป็นสิ่งสำคัญ หากลดสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ ก็จะลดอาการปวดไมเกรนได้เช่นกัน

แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co  ในบทความต่อไปกันนะคะ

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Youtube Phyathai Hospital