คอนแทคเลนส์ ศึกษาให้ดีก่อนเลือกใส่
คอนแทคเลนส์ในปัจจุบันนี้ต้องยอมรับว่า มีความสำคัญมากในการใช้ชีวิตประจำวัน เรียกได้ว่าแทบจะเป็นปัจจัยที่ 5 ของหลายคนเลยทีเดียว บางคนคิดว่าจะเหมาะสำหรับคนที่มีสายตาสั้นเท่านั้น เพราะไม่อยากใส่แว่น แต่คนสายตายาว คนสายตาปกติก็เลือกใส่คอนแทคเลนส์เพื่อแฟชั่น หรือเพื่อตามเทรน แต่รู้หรือไม่ว่าการใส่คอนแทคเลนส์ก็มีข้อควรระวังเช่นกัน วันนี้ uHealthy.co เลยชวนมาทำความรู้จักคอนแทคเลนส์ แนะนำวิธีการเลือกซื้อ วิธีการดูแลคอนแทคเลนส์กันค่ะ
ทำความรู้จักกับคอนแทคเลนส์
คอนแทคเลนส์ หมายถึง วัสดุที่เป็นพลาสติกวงกลมใส มีลักษณะบาง ใช้ใส่เพื่อแก้ปัญหาทางสายตาที่มีความผิดปกติเช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง เป็นต้น เพื่อทำให้มีการมองเห็นที่ดีขึ้น ปัญหาทางสายตาที่ผิดปกติจะเกิดขึ้นเมื่อดวงตาของเราไม่สามารถรวมแสงให้ตกที่จอรับภาพได้พอดี ทำให้เกิดการมองเห็นภาพได้ไม่ชัดเจน ดังนั้นคอนแทคเลนส์จึงสามารถช่วยแก้ปัญหาทางสายตาที่ผิดปกติได้
ประเภทของคอนแทคเลนส์
ประเภทของคอนแทคเลนส์แบ่งได้หลักๆเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้
-คอนแทคเลนส์ชนิดแข็ง เป็นคอนแทคเลนส์รุ่นแรกๆเลยก็ว่าได้ ตัวคอนแทคเลนส์ชนิดนี้มีข้อเสียอยู่บ้างคือไม่ยอมให้ออกซิเจนผ่านเข้าไป ปัจจุบันนี้จึงได้เลิกใช้งานคอนแทคเลนส์ประเภทนี้ไปแล้ว เพราะปัจจุบันนี้มีการคิดค้นคอนเทคเลนส์ที่ใช้วัสดุผลิตคอนแทคเลนส์ชนิดแข็งแบบที่ยอมให้ออกซิเจนผ่านเข้าได้ ซึ่งแบบหลังจะทำให้ใช้งานได้ดีกว่าแบบแรก
-คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งแบบยอมให้ออกซิเจนผ่านเข้าไปได้ดี อย่างที่บอกไปว่าปัจจุบันนี้ได้ผลิตตัวที่ให้ออกซิเจนผ่านเข้าไปได้แล้ว นั้นก็คือประเภทนี้นี่เอง โดยภาษาอังกฤษจะเรียกคอนแทคเลนส์ประเภทนี้ว่า Rigid Gas Permeable Contact Lens (RGP) แต่คอนแทคเลนส์ชนิดนี้ก็ยังมีข้อเสียอยู่เล็กน้อยเช่นกันตรงที่ผู้สวมใส่คอนแทคเลนส์จะรู้สึกระคายเคืองตามากกว่าใส่คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มภายในช่วงแรกๆ แต่ข้อดีของประเภทนี้ที่ดีกว่าคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มคือ ยอมให้ออกซิเจนผ่านได้ดี การมองเห็นความคมชัดดีกว่า เวลาใส่ตาไม่ค่อยแห้ง ที่สำคัญสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องกระจกตาบิดเบี้ยวได้ดีกว่าอีกด้วย โดยอายุการใช้งานจะมีอายุการใช้งานที่นานมากกว่า
-คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มแบบไฮโดรเจล เป็นคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มที่ใช้วัสดุผลิตแบบไฮโดรเจล นิยมผลิตกันส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
-คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มแบบซิลิโคนไฮโดรเจล เป็นวัสดุใหม่ล่าสุดสำหรับคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มแบบซิลิโคน เพราะมีคุณสมบัติที่ยอมให้ออกซิเจนผ่านสูงมากถึง 97% ซึ่งเมื่อออกซิเจนเข้าไปได้จะส่งผลให้ดีต่อสุขภาพดวงตาเป็นอย่างมาก
วิธีการเลือกซื้อคอนแทคเลนส์
การเลือกคอนแทคเลนส์ ต้องรู้จักสภาพดวงตาของเราก่อนเสียก่อนว่ามีสภาพเป็นอย่างไร เป็นคนที่มีดวงตาที่ค่อนข้างแห้ง คนประเภทนี้จะเหมาะกับคอนแทคเลนส์ที่ถูกออกแบบให้เข้ากับดวงตาหรือชั้นน้ำตาของผู้นั้น ซึ่งจะช่วยในเรื่องให้ความชุ่มชื้นกับดวงตาได้มากกว่าปกติ รวมทั้งคนที่มีสายตาเอียงร่วมกับสายตาสั้น ก็ควรเลือกใช้คอนแทคเลนส์สำหรับสายตาเอียงโดยเฉพาะเพื่อทำให้เกิดการมองเห็นชัดมากขึ้น คมมากขึ้น แต่ถ้าคนที่มีอายุมากแล้ว อาจจำเป็นต้องใช้เลนส์ที่มีค่าสายตาสำหรับการช่วยมองเห็นภาพได้ทุกระยะ โดยที่ไม่ต้องใส่แว่น
วิธีการดูแลคอนแทคเลนส์
เมื่อถอดคอนแทคเลนส์ ให้ใช้น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์บีบใส่ลงไป หลังจากนั้นใช้ปลายนิ้วถูเบาๆ เอาคราบออก แล้วเอาไว้ใส่ลงตลับคอนแทคเลนส์ที่มีน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์โดยจะแช่เอาไว้ทั้งคืน โดยน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ควรใช้ให้หมดภายใน 1 เดือน รวมถึงให้เปลี่ยนน้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ทุกครั้งก่อนแช่
สิ่งที่ห้ามคือ ไม่ควรใช้น้ำประปา น้ำดื่ม ในการล้างคอนแทคเลนส์ เพราะมีโอกาสที่จะมีเชื้อในน้ำ และทำให้เกิดการติดเชื้อสูง อันตรายต่อดวงตาได้
กล่าวโดยสรุป
คอนแทคเลนส์ หมายถึง วัสดุที่เป็นพลาสติกวงกลมใส มีลักษณะบาง ใช้ใส่เพื่อแก้ปัญหาทางสายตาที่มีความผิดปกติเช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง เพื่อทำให้มีการมองเห็นที่ดีขึ้น ทำให้เกิดการมองเห็นภาพได้ชัดเจน โดยประเภทของคอนแทคเลนส์แบ่งได้หลักๆเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้ คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งข้อเสียคือไม่ยอมให้ออกซิเจนผ่านเข้าไป, คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งแบบยอมให้อ๊อกซิเจนผ่านเข้าไปได้ดี แบบนี้ยอมให้ออกซิเจนผ่านได้ดี การมองเห็นความคมชัดดีกว่า เวลาใส่ตาไม่ค่อยแห้ง ที่สำคัญสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องกระจกตาบิดเบี้ยวได้ดีกว่าอีกด้วย โดยอายุการใช้งานจะมีอายุการใช้งานที่นานมากกว่า, คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มแบบไฮโดรเจลจะนิยมผลิตกันส่วนใหญ่ในปัจจุบัน และคอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มแบบซิลิโคนไฮโดรเจล มีคุณสมบัติที่ยอมให้ออกซิเจนผ่านสูงมากถึง 97% ซึ่งเมื่อออกซิเจนเข้าไปได้จะส่งผลให้ดีต่อสุขภาพดวงตาเป็นอย่างมาก และวิธีการเลือกซื้อคอนแทคเลนส์ เราต้องรู้จักสภาพดวงตาของเราเสียก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งสามารถตรวจสภาพดวงตัวของเราได้ที่ร้านตัดแว่นชั้นนำทั่วไป หรือโรงพยาบาลแผนกจักษุก็ย่อมได้ หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆเลือกซื้อคอนแทคเลนส์ที่เหมาะกับตัวเองไม่มากก็ไม่น้อยนะคะ
แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co ในบทความต่อไปค่ะ