ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาด เกิดจากอะไร ต้องพบแพทย์หรือไม่

475
ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาด ประจำเดือนไม่มาตามปกติ

ประจำเดือนไม่มา อาจจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับสาวๆหลายๆคนเมื่อพบว่าตนเองประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาด บ้างก็วิตกกังวลว่าหรือนี่จะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเรากำลังท้อง แต่สาวๆรู้หรือไม่การที่ประจำเดือนขาด หรือไม่ได้มาตามที่ควรจะมานั้นอาจจะมาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น อยู่ในสภาวะเครียดมากเกินไป รับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลต่อฮอร์โมนโดยตรง หรืออาจจะเป็นไปตามที่สาวๆคิด คือกำลังตั้งครรภ์อยู่ก็ได้ เพราะฉะนั้นวันนี้ uHealthy.co จะมาไขข้อสงสัยให้กระจ่างว่าเหตุใดประจำเดือนถึงไม่มา แล้วจะทำอย่างไรให้ประจำเดือนมาตามปกติกันค่ะ

ทำความรู้จักกับประจำเดือน

โดยปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 – 30 วัน ซึ่งประจำเดือนในแต่ละรอบเดือนจะมาประมาณ 3-7 วัน หากน้อยกว่า 3 วัน หรือมากกว่า 7 วัน อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกาย และปริมาณของประจำเดือนที่ควรมาต่อวันควรมีปริมาณประมาณ 80 CC หรือเทียบเท่ากับการเปลี่ยนผ้าอนามัยจำนวน 4 แผ่นต่อวัน โดยประจำเดือนต้องมาเต็มแผ่นถึงจะมีการเปลี่ยนแผ่นใหม่

ภาวะประจำเดือนขาด ประจำเดือนไม่มา

ภาวะขาดประจำเดือนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆดังนี้

1.ภาวะขาดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ หรือที่เรียกว่า Primary amenorrhea คือผู้หญิงที่ไม่เคยมี ประจำเดือนมาก่อน ไม่เคยมีระดูมาก่อน ซึ่งเป็นผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 18 ปี แต่ในความเป็นจริงแล้วประจำเดือนในผู้หญิงควรจะเริ่มมีตั้งแต่ช่วงอายุ 12 ปี

2.ภาวะขาดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ หรือที่เรียกว่า Secondary amenorrhea คือคือผู้หญิงที่เคยมี ประจำเดือน มีระดูมาก่อน แต่หลังจากนั้นประจำเดือนไม่มา มีการขาดระดูติดต่อกันเป็นเวลามากว่า 6 เดือน หรือ 3 รอบเดือน

สาเหตุที่ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนขาด

ได้แก่ เยื่อพรหมจารีไม่เปิด, เป็นบุคคลที่มีภาวะโลหิตจาง, การออกกำลังกายอย่างหนัก, การอยู่ในสภาวะที่มีความเครียดสูง, กำลังตั้งครรภ์, รังไข่เสื่อมก่อนกำหนด, มีโรคทางพันธุกรรม, การรับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลต่อฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด(ใช้ยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานานเกินไป) ยาที่รักษาอาการทางจิตเวช ยาที่รักษาความดันโลหิตผิดปกติ หรือแม้แต่การเสพสารเสพติดก็จะส่งผลต่อการมาของประจำเดือนได้เช่นกัน หากร้ายแรงสุดก็เกิดจากที่มีเนื้องอก มีพังผืด มีการติดเชื้อในมดลูก ซึ่งเนื้องอกดังกล่าวอาจจะเป็นทั้งเนื้องอกไม่ดี หรือแค่ก้อนเนื้อธรรมดาๆก็ได้

วิธีตรวจความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์

  • ก่อนอื่นแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วยทั้งด้านการใช้ชีวิตประจำวัน ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อใช้ข้อมูลเหล่านี้มาช่วยในการวินิจฉัย หากพบว่าผู้ป่วยประจำเดือนไม่มาติดต่อเป็นเวลามากว่า 3 เดือน แพทย์จะส่งตรวจเรื่องการตั้งครรภ์ก่อนเป็นอันดับแรก
  • การตรวจการตั้งครรภ์ แพทย์จะใช้วิธีตรวจความผิดปกติของรอบประจำเดือน โดยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับของฮอร์โมน
  • และถ้าหากไม่ได้เกิดจาการตั้งครรภ์แพทย์ก็จะทำการทำอัลตราซาวด์เพื่อดูความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่ หรือใช้วิธี CT Scan เพื่อที่จะตรวจหาเนื้องอกบริเวณต่าง ๆ ในอวัยวะสืบพันธุ์

ทำอย่างไรให้ประจำเดือนมาตามปกติ

  • พยายามไม่ทำให้ตัวเองอยู่ในสภาวะเครียดมากเกินไป หากรู้สึกเครียด แนะนำให้ออกไปเดินเล่น สุดอากาศ มองธรรมชาติรอบๆตัว นอนพักผ่อนให้เพียงพอ หาอะไรที่ผ่อนคลายฟังก่อนนอน จะสามารถลดสภาวะเครียดได้ไม่มากก็ไม่น้อย
  • รับประทานอาหารให้ครบถ้วน ให้ครบ 5 หมู่ ให้ครบ 3 มื้อ และแต่ละมื้อต้องเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายด้วย
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยหลังสารเอ็นดอร์ฟิน หรือสารแห่งความสุขที่ทำให้มีความสุข ลดความเครียดได้ดีอีกด้วย ที่สำคัญการออกกำลังกายจะช่วยรักษามาตรฐานของน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มมากขึ้นจนเกินไป เพราะถ้าน้ำหนักตัวมีการแกว่งเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หรือลดลงอย่างเห็นได้ชัดก็จะส่งผลต่อประจำเดือนขาด หรือประจำเดือนไม่มาได้อีกด้วย
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มมึนเมา แอลกอฮอล์ทุกชนิด เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน หรือการเสพสารเสพติดทุกชนิด ถ้าเป็นไปได้ลด งด เลี่ยงได้จะส่งผลดีต่อสุขภาพอีกหลายๆด้านเลยค่ะ

กล่าวโดยสรุป

อาการประจำเดือนไม่มา ประจำเดือน เกิดได้หลากหลายสาเหตุ เช่น เยื่อพรหมจารีไม่เปิด, อยู่ในสภาวะเครียดมากเกินไป, รับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลต่อฮอร์โมนโดยตรง, กำลังตั้งครรภ์, น้ำหนักมีการเปลี่ยนแปลงแบบผิดปกติ, หรืออาจจะเข้าสู่วัยทองแล้ว ซึ่งหากสาวๆที่อายุ 45 ขึ้นไปมีแนวโน้มที่ประจำเดือนไม่มา หรืออยู่ในวัยหมดประจำเดือนนั้นเอง หากร้ายแรงสุดก็เกิดจากที่มีเนื้องอก มีพังผืด มีการติดเชื้อในมดลูก ซึ่งเนื้องอกดังกล่าวอาจจะเป็นทั้งเนื้องอกไม่ดี หรือแค่ก้อนเนื้อธรรมดาๆก็ได้ ส่วนการดูแลตัวเองเบื้องต้นเพื่อให้ประจำเดือนมาปกติ ประจำเดือนไม่ขาดก็ต้องพยายามไม่ทำให้ตัวเองอยู่ในสภาวะเครียดมากเกินไป, รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และแต่ละมื้อต้องเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย, ออกกำลังกายเพื่อรักษามาตรฐานของน้ำหนักตัวให้คงที่, ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ ทั้งการกิน การดื่ม การใช้ชีวิตประจำวัน และถ้าหากต้องการตรวจสอบให้แน่ใจว่าสาเหตุที่ประจำเดือนไม่มาคือสาเหตุอะไรกันแน่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรค และการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง

แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co  ในบทความต่อไปนะคะ