โรคซึมเศร้า เชื่อว่าทุกคนต่างเคยรู้สึกเครียดผิดหวังเมื่อต้องเผชิญกับความสูญเสียหรือปัญหาอุปสรรคในชีวิตความรู้สึกเหล่านี้ถือเป็นเรื่องปกติหากเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวแต่ถ้าความเครียดและความเศร้าเหล่านี้ดำเนินติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคนคนนั้นกำลังเป็นโรคซึมเศร้าได้ วันนี้ uHealthy.co จะพาทุกคนไปทำความรู้จักโรคซึมเศร้ากันให้มากกว่านี้โดยบทความที่เราจะมาพูดในวันนี้เราได้รวบรวมมาจากโรงพยาบาลธนบุรี และอ. นพ.กานต์ จำรูญโรจน์ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โรคซึมเศร้ากับอารณ์เศร้ามีความแตกต่างกัน โดยอารมณ์เศ้ราเป็นสิ่งที่ทุกคนเป็นได้ มีอาการนี้ได้ แต่ว่าจะไม่เป็นอาการเหล่านี้นาน แต่ถ้าเราเป็นโรคซึมเศร้าจะมีอาการต่อเนื่องนานเป็นเวลามากกว่า 2 อาทิตย์ โดยเป็นทั้งวันทั้งคืน รวมไปถึงมีอาการเบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยทำเป็นประจำ เคยชอบ เคยทำแล้วมีความสุข เมื่อเป็นโรคซึมเศ้ราสิ่งที่เคยชอบก็จะไม่ได้รู้สึกชอบหรืออยากทำมันอีกต่อไป
สาเหตุของโรคซึมเศร้า
เชื่อว่าเป็นความบกพร่องของหลายหลายปัจจัยร่วมกันทั้งทางด้านกรรมพันธุ์ การพลัดพรากจากพ่อแม่ในวัยเด็ก พัฒนาการของจิตใจ ลักษณะนิสัย รวมถึงปัจจัยทางชีวภาพ เช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมองบางตัว เช่น serotonin และ norepinephrine ที่ลดต่ำลง
จะรู้ได้อย่างไรว่าเราป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า
อาการของโรคซึมเศร้าจะมีอารมณ์ซึมเศร้า หดหู่ ผิดหวัง รูสึกผิด รู้สึกไร้ค่า สมาธิลดลง ความจำลดลง ทำอะไรช้าลง แยกตัวออกจากคนอื่น อีกอาการที่เจอได้ในโรคซึมเศ้รา คือ มีการนอนที่ผิดเวลา ผิดปกติ ผู้ป่วยอาจจะนอนไม่หลับหรือหลับมากกกว่าปกติ รู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง หรือหงุดหงิดง่ายไม่ค่อยสนใจในกิจกรรมต่างๆ น้ำหนักเปลี่ยนไปอาจลดลงหรือเพิ่มขึ้น การนอนเปลี่ยนไปอาจนอนไม่หลับหรือนอนหลับมากกว่าเดิม มีความกระวนกระวายอยู่ไม่สุข หรืออาจดูเชื่องช้าลงกว่าเดิม อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง รู้สึกตนเองไร้ค่า สมาธิลดลง ใจลอย และอาจคิดถึงเรื่องการตายหรือคิดอยากตายได้เลยทีเดียว
โดยอาการดังกล่าวจะอยู่นานเกินสองสัปดาห์ขึ้นไป และต้องมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบตลอดเวลาแทบทุกวัน ไม่ใช่เป็นเป็นหายๆ หรือกินเพียงแค่หนึ่งถึงสองวันแล้วอาการของโรคจะหายไป และเมื่อมีอาการของโรคซึมเศร้านานเข้าก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันการเรียนการทำงาน รวมไปถึงการมีความสัมพันธ์กับคนรอบข้างด้วย
ซึ่งเกณฑ์การวินิจฉัยนี้เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นจากหลายหลายขั้นตอนที่แพทย์ใช้ในการวินิจฉัย ดังนั้นถ้าอยากให้รู้แน่ชัดว่าเราเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่จำเป็นจะต้องมาพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยโดยละเอียด
การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศ้รา
การรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถทำได้ทั้งพูดคุยกับจิตแพทย์ พูดคุยกับนักจิตวิทยา หรือใช้ยาในการรักษาควบคู่คู่การพบแพทย์ตามนัดหมาย
ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในอาการระยะเริ่มต้นการรักษาในรายที่มีอาการไม่มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชี้แนะแนะนำวิธีการแก้ไขโดยไม่ได้บังคับให้ผู้ป่วยต้องทำตาม แนะวิธีมองปัญหาต่างๆในมุมมองใหม่ แนะแนวทางในการปรับตัวกับโรคซึมเศร้าว่าสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างไร หรือการหาวิธีที่จะช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ในใจได้ของผู้ป่วยได้
ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีอาการมาก แพทย์อาจให้ยากลุ่มแก้อาการซึมเศร้า หรือยาคลายกังวลมาช่วยเสริมเพื่อไปกระตุ้นให้ระดับสารเคมีในสมองบางตัว เช่น serotonin และ norepinephrine ให้หลั่งได้เหมือนคนปกติทั่วไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะช่วยได้ ซึ่งการกินยาควรกินตามหมอสั่งห้ามกินเกิน หรือหยุดยาเองเด็ดขาด
โรคซึมเศร้าไม่ใช่แค่อาการอ่อนแอทางจิตใจ แต่มันคืออาการป่วยทางร่างกายอย่างนึง ดังนั้นญาติและผู้ใกล้ชิดควรที่จะมีความเข้าใจว่าโรคนี้รักษาได้เมื่อรักษาให้ถูกวิธี และอาการต่างๆก็จะจะค่อยๆหายไปจนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
กล่าวโดยสรุป
โรคซึมเศร้า มีอาการต่อเนื่องนานเป็นเวลามากกว่า 2 อาทิตย์ โดยเป็นทั้งวันทั้งคืน รวมไปถึงมีอาการซึมเศร้า หดหู่ ผิดหวัง รูสึกผิด รู้สึกไร้ค่า สมาธิลดลง ความจำลดลง ทำอะไรช้าลง แยกตัวออกจากคนอื่น อีกอาการที่เจอได้ในโรคซึมเศ้รา คือ มีการนอนที่ผิดเวลา ผิดปกติ ผู้ป่วยอาจจะนอนไม่หลับหรือหลับมากกกว่าปกติ เบื่อหน่ายกับสิ่งที่เคยทำเป็นประจำ เคยชอบ เคยทำแล้วมีความสุข เมื่อเป็นโรคซึมเศ้ราสิ่งที่เคยชอบก็จะไม่ได้รู้สึกชอบหรืออยากทำมันอีกต่อไป ที่สำคัญคือมีคามรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่บนโลกอีกต่อไป อยากตาย ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะต้องดูแลต่อเนื่องเป็นเวลาระยะยาวโดยใช้ยาเพื่อไปกระตุ้นให้ระดับสารเคมีในสมองบางตัว เช่น serotonin และ norepinephrine ให้หลั่งได้เหมือนคนปกติทั่วไป หรือพูดคุยกับจิตแพทย์ นักจิตวิทยาจึงจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการรักษาโรคนี้จำเป็นต้องใช้เวลานานพอสมควร และควรหมั่นพบแพทย์ให้ตรงตามนัด และกินยาตามที่แพทย์สั่งให้ถูกวิธี ที่สำคัญคือห้ามหยุดยาเอง ไม่งั้นอาการต่างๆก็จะกลับมาเหมือนเดิม หรืออาจจะต้องเริ่มต้นรักษาใหม่
แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co ในบทความต่อไปกันนะคะ
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Youtube RAMA Channel