Home สุขภาพดี สุขภาพ ฟันคุด สาเหตุเกิดจากอะไร รักษายังไงถึงจะหาย

ฟันคุด สาเหตุเกิดจากอะไร รักษายังไงถึงจะหาย

ฟันคุด
ฟันคุด

ปวดฟันคุด สาเหตุเกิดจากอะไร รักษายังไงถึงจะหาย

ฟันคุด>>ต้องยอมรับว่าปวดฟันธรรมดาก็รับประทานอาหารยากอยู่แล้ว แต่นี่ปวดฟันคุดอีกยิ่งทำให้รับประทานอาหารยากขึ้นไปอีก เพราะฟันคุดมันอยู่ในตำแหน่งที่เราเคี้ยวอาหารเลย หลายคนเลยเลือกที่จะเจ็บแต่จบ โดยการผ่าตัดเอาฟัดคุดออกมา เพื่อที่จะทำให้สะดวกต่อการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวันมากขึ้น แล้วทุกคนรู้ไหมคะว่าสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดฟันคุดมาจากอะไร วันนี้ uHealthy.co จะนำสาระน่ารู้เรื่องฟัดคุดมาบอกต่อกันค่ะ

ฟัดคุดคือ?

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาอยู่บนช่องปากได้ตามปกติเหมือนฟันทั่วไป ตำแหน่งที่พบได้บ่อย คือ ฟันกลามซี่สุดท้าย โดยจะขึ้นเวลาอายุร่างกายประมาณ 18-20 ปี หรือฟัดคุดที่เป็นฟันเคี้ยวซึ่งจะขึ้นเวลาอายุร่างกายประมาณ 11-13 ปี โดยฟันคุดที่เป็นฟันเคี้ยวบางรายพบว่าอาจจะมีการแทงทะลุเพดานปากออกมา หรือมีการชอนใต้ตามรากฟันที่อยู่ใกล้เคียงอีกด้วย รุนแรงสุดคือฟันคุดไม่โผล่เลยก็ได้จะฝังตัวอยู่ในกระดูกขากรรไกรนั่นเอง

ทำไมต้องผ่าเอาฟัดคุดออก?

  • ป้องกันการปวดจากการที่ฟันกรามซี่ที่ 3 ที่เบียดฟันซี่ข้างๆ ทำให้เกิดแรงดันบริเวณขากรรไกร หรือมีรากฟันคุดยาวไปกดหรือบริเวณเส้นประสาทและเส้นเลือดที่อยู่ในขากรรไกร จะทำให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทและเส้นเลือดนั้นเหล่านั้นได้ถ้าหากไม่รีบเอาออก ถ้าทิ้งฟัดคุดไว้นานๆอาจจะทำให้โพรงไซนัสย้อย และเมื่อมีการผ่าฟันคุดออกจะทำให้เกิดรอยทะลุบริเวณช่องปากและโพรงไซนัสได้
  • ป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะถ้าไม่ผ่าเอาฟันคุดออกเวลารับประทานอาหารจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือกแล้วจะไม่สามารถทำความสะอาดได้ทั่วถึง จึงทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียทำให้เหงือกอักเสบ หรือปวด และบวมได้ บางรายก็มีหนองมีกลิ่นปากร่วมด้วย หากยังไม่ผ่าตัดหรือทิ้งไว้ฟันคุดก็จะอักเสบและลุกลามไปบริเวณอื่นๆได้เช่น ใต้คางหรือใต้ลิ้น บางรายถ้าเหงือกอักเสบมากและฟันคุดงอกยาว เวลารับประทานอาหารหรือพูดจะทำให้ฟันคุดมากัดโดนเหงือกได้ แล้วจะยิ่งทำให้อาการปวดรุนแรงมากยิ่งขึ้น
  • ป้องกันฟันข้างเคียงผุ โดยซอกฟันตำแหน่งระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่ 2 ที่อยู่ชิดกันนั้นจะสามารถทำความสะอาดได้ยาก จึงทำให้มีเศษอาหารจะติดอยู่ นั้นเป็นสาเหตุทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่ บางรายหากเป็นมากอาจจะต้องเอาฟัน 2 ซี่นั้นออกทั้งหมด
  • แรงดันจากฟันคุดที่พยายามจะดันขึ้นมาทำให้กระดูกบริเวณรอบรากฟันถูกทำลาย หากฟันข้างเคียงยังไม่ผุ แล้วทำการผ่าฟันคุดช้าเกินไปจะทำให้กระดูกหุ้มบริเวณรากฟัน หรือรากฟันซี่ที่อยู่ข้างเคียงถูกทำลายและจะกระทบกระเทือนต่อฟันซี่นั้นไปด้วย ดังนั้นการผ่าตัดฟันคุดออกจึงช่วยป้องกันการละลายตัวของกระดูกนั่นเอง
  • ป้องกันการเกิดเนื้องอกฟันคุด โดยเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุดอาจจะขยายใหญ่กลายเป็นถุงน้ำแล้วโตโดยที่ไม่แสดงอาการเลยใดๆเลย กว่าจะรู้ตัวก็เกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียงและกระดูกรอบๆ บริเวณนั้นไปเรียบร้อยแล้ว หากใครที่ไม่เคยได้ตรวจ ดูแลฟันจะรู้ตัวว่าอาจจะสายไปก็ต่อเมื่อรู่สึกว่ามีใบหน้าเอียง หรือขากรรไกรข้างใดข้างหนึ่งใหญ่กว่าอีกข้าง ซึ่งหากตรวจพบแล้วให้รีบทำการผ่าตัดออกโดยเร็วที่สุด จะช่วยลดการสูญเสียขากรรไกร และยังสามารถรักษารูปหน้าให้เป็นปกติเหมือนเดิมได้ แต่ถ้าถุงน้ำหรือเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากๆ ก็อาจต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออกทำให้เสียรูปหน้าบริเวณนั้นได้

การถอนฟันคุดควรถอนเมื่อไร

การถอนฟันคุดควรถอนในช่วงอายุประมาณ 16-20 ปี เพราะจะง่าย และทำให้แผลหายเร็วกว่าเมื่อสูงอายุขึ้น เพราะเมื่อผ่าตอนอายุมากจะเสี่ยง และการถอนนั้นก็จะยุ่งยากกว่า อีกทั้งแผลก็จะหายช้ากว่าอีกด้วย

กล่าวโดยสรุป

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาอยู่บนช่องปากได้ตามปกติเหมือนฟันทั่วไป ตำแหน่งที่พบได้บ่อย คือ ฟันกลามซี่สุดท้าย หรือฟัดคุดที่เป็นฟันเคี้ยว โดยฟันคุดที่เป็นฟันเคี้ยวบางรายพบว่าอาจจะมีการแทงทะลุเพดานปากออกมา หรือมีการชอนใต้ตามรากฟันที่อยู่ใกล้เคียงอีกด้วย รุนแรงสุดคือฟันคุดไม่โผล่เลยก็ได้จะฝังตัวอยู่ในกระดูกขากรรไกรนั่นเอง การผ่าตัดฟันคุดดีอย่างไร การผ่าตัดฟันคุด จะช่วยป้องกันการปวดจากการที่ฟันกรามซี่ที่ 3 ที่เบียดฟันซี่ข้างๆ, ป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน, ป้องกันฟันข้างเคียงผุ, ป้องกันการละลายตัวของกระดูก, ป้องกันการเกิดเนื้องอกฟันคุด, ช่วยลดการสูญเสียขากรรไกร และยังสามารถรักษารูปหน้าให้เป็นปกติเหมือนเดิมได้ ส่วนการถอนฟันคุดควรถอนในช่วงอายุประมาณ 16-20 ปี เพราะจะง่าย และทำให้แผลหายเร็วกว่าเมื่อสูงอายุขึ้น เพราะเมื่อผ่าตอนอายุมากจะเสี่ยง เพราะอาจจะมีโรคประจำตัว และการถอนนั้นก็จะยุ่งยากกว่า อีกทั้งแผลก็จะหายช้ากว่าอีกด้วยค่ะ

แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co  ในบทความต่อไปนะคะ

 

 

Exit mobile version