Home โรคและการป้องกัน รู้จักสาเหตุ วิธีแก้ ผลกระทบจากการนอนกรน สาเหตุนึงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

รู้จักสาเหตุ วิธีแก้ ผลกระทบจากการนอนกรน สาเหตุนึงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

นอนกรน

วันนี้ uHealthy.co มีสาระสุขภาพดี ๆ นำมาฝากกันค่ะ การป้องกันการอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือโรคยอดฮิตนั่นก็คือ Chronic fatigue syndrome มีประเด็นสำคัญสำคัญมาจากหลายเรื่องเลยทีเดียวค่ะหนึ่งในนั้นก็คือการนอนที่ไม่ดีและสาเหตุของการนอนที่ไม่ดีนั่นก็คือการนอนกรนนั่นเองค่ะ

เพื่อน ๆ รู้ไหมคะว่าการกรนมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ 1 แบบที่ไม่อันตราย เสียงดังอย่างเดียว แบบที่ 2 เสียงดังจนต้องรักษา ถ้าเป็นการกรน และหยุดหายใจไปด้วยนอกเหนือจากการกระทบในด้านเสียงแล้วคนที่นอนด้วยยังกลัวว่าเขาจะหยุดหายใจนานไปเลย ข้อเสียของการหยุดหายใจบางคนอาจจะยังไม่ทราบว่าจะรุนแรงขนาดนี้ แต่นั่นก็เกิดจากการอ่อนเพลียเรื้อรัง ทำให้มีปัญหาทางอารมณ์ อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย มีปัญหาทางด้านความจำ กลัวว่าตัวเองจะความจำเสื่อมและมากไปกว่านั้นคือความดันเลือดสูงและมีปัญหาเรื่องของระบบหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเป็นสิ่งที่เราจะต้องพึงระวัง และก่อนที่จะไปรักษาอาการกรนเราต้องรู้สาเหตุของเราก่อนค่ะว่าเรากรนเกิดจากสาเหตุอะไร

อาการนอนกรนคืออะไร?

อาการนอนกรน คือความผิดปกติในขณะนอนหลับที่มักจะมีเสียงดังมาก หรือ น้อย แตกต่างกันออกไปตามสภาพของบุคคล และมักจะเป็นเสียงคล้ายลักษณะหายใจไม่ออก หรือการหายใจไม่เต็มที่ ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้ที่นอนหลับจนสนิทดีแล้ว

สาเหตุของอาการนอนกรนมีอะไรบ้าง?

อาการนอนกรนเป็นเรื่องธรรมดาที่ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ เป็นอาการที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจ และการได้รับออกซิเจนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้จะทำให้เกิดเสียงกรนขึ้นมาในขณะนอนหลับ เพราะช่องลมที่มีขนาดเล็กลงและทำให้เนื้อเยื่อบริเวณต้นคอเกิดอาการสั่น ดังนั้นแล้ว นี่จึงไม่ใช่อาการที่ดีแต่เป็นอาการที่อาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจตามมา หรือ ปัญหาทางเดินหายใจได้เลย ซึ่งอาการนอนกรนนั้นมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยงกับทางเดินหายใจ หรือผู้ที่พักผ่อนน้อย หรือผู้ที่น้ำหนักตัวมากเป็นหลัก

• สำหรับสาเหตุของอาการนอนกรน เกิดได้หลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนมากแล้วก็จะเป็นเรื่องของปัญหาสุขภาพ
• โดยเฉพาะปัญหาทางเดินหายใจไม่ว่าจะเกี่ยวกับไซนัส หอบ หรือโรคอื่น ๆ ที่จะส่งผลให้คุณไม่สามารถนอนหลับได้ปกติ
• โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือโหมงานหนัก ทำงานเหนื่อยมากจนเกินไป ก็อาจจะส่งผลให้เกิดอาการนอนกรนได้
• โดยส่วนมากแล้วค่าเฉลี่ยของคนที่นอนกรนก็จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ดังนั้นหากคุณมีปัญหาเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชียวชาญหรือเลือกการออกกำลังกายและดูแลสุขภาพเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เพื่อป้องกันหรือลดอาการนอนกรนในเบื้องต้น

วิธีแก้อาการนอนกรนเบื้องต้น

วิธีแก้อาการนอนกรนสามารถทำได้หลายอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ด้วยแผ่นแปะ การปรับเปลี่ยนท่านอน หลีกเลี่ยงการทำงานหนักและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผู้ที่น้ำหนักเกินมาตรฐานที่ต้องหันมาดูแลตัวเอง ด้วยการออกกำลังกาย และการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือแม้แต่การเลือกใช้อุปกรณ์เสริม เช่น แผ่นแปะ ยา และอื่นๆที่จะช่วยลดอาการนอนกรนได้ดียิ่งขึ้น

ผลกระทบจากการนอนกรน

ผลกระทบจากการนอนกรน อาจจะเกิดปัญหารบกวนผู้ที่นอนใกล้เคียง เพราะบางรรายก็มีอาการนอนกรนที่เสียงดังมากๆ ตลอดจนตัวผู้กรนเองที่จะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับได้ หรือแม้แต่บางรายที่อาจจะนอนแล้วเหมือนไม่ได้นอน ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนเท่าไหร่ก็ง่วงและยังรู้สึกเพลีย เพราะมาจากปัญหาของการนอนกรนนั่นเอง
ดังนั้นแล้ว หากใครที่กำลังมองว่าปัญหาของการนอนกรนเป็นเรื่องที่ปกติ เราขอบอกเลยว่าไม่จริงเสมอไป ควรที่จะรีบปรึกษาแพทย์ และได้รับการแก้ไขปัญหาด้านอื่นๆโดยด่วน เพราะบางรายอาจจะเกิดปัญหาเหนื่อยล้า เครียด จากการนอนกรนโดยที่ไมรู้ตัวได้นั่นเอง

กล่าวโดยสรุป

การนอนกรนเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพมากนัก แต่หากว่าสาเหตุจากการนอนกรนนี้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า sleep apnea ซึ่งภาวะนี้เป็นภาวะผิดปกติเนื่อวจากการหายใจ คือคนเราจะมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ในขณะที่นอนหลับ การนอนกรนจึงทำให้คุณภาพของการนอนไม่ดี นอนหลับไม่ต่อเนื่อง และยังกลายเป็นสาเหตุหลักของปัญหาสุขภาพทั้งหลายไม่ว่าจะทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางอารมณ์ ยกตัวอย่างเช่น สุขภาพจิตเสีย ร่างกายอ่อนเพลีย ความจำ และสมาธิไม่ดี การเผาผลาญอาหารของร่างกายประสิทธิภาพด้อยลง ทำให้เกิดโรคอ้วนและเบาหวานได้ง่าย

นอกจากนี้แล้วอันตรายที่เกิดจากการนอนกรน และอันตรายจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับยังรวมไปถึงการเกิดก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางสมองและหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคของหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และยังอาจจะทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงทำให้ส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมลงได้

แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co ในบทความต่อไปกันนะคะ

Exit mobile version