ตกขาวสีน้ำตาล ในลักษณะที่ตัวเองกำลังเป็นอยู่เนี่ยอันตรายไหม เป็นขึ้นมาแล้วต้องทำอย่างไรบ้าง วันนี้ uHealthy.co ก็เลยรวบรวมลักษณะการพบตกขาวสีน้ำตาลในรูปแบบต่างๆมาไว้ในบทความนี้ เราจะได้รู้กันว่าตกขาวแบบที่เราเป็นอยู่เป็นปกติหรือว่าอันตรายควรไปพบแพทย์ ใครที่กำลังมีตกขาวสีน้ำตาลแล้วสงสัยว่าเป็นอันตรายหรือไปดูกันเลยค่ะว่าตกขาวสีน้ำตาลข้อไหนบ้างที่ตรงกับที่เราเป็นอยู่
ตกขาวสีน้ำตาลอันตรายไหม ต้องดูแลร่างกายอย่างไร?
ประเภทของตกขาวสีน้ำตาล
- ตกขาวสีน้ำตาลก่อนมีรอบเดือน ตกขาวสีน้ำตาลประเภทนี้จะออกมาก่อนที่รอบเดือนจริงเราจะมาประมาณ 1-3 วัน น้องๆที่อยู่ในวัย 12-14 ปี แล้วบอกว่ายังไม่เคยมีประจำเดือนมาก่อนเลยทำไมถึงมีตกขาวสีน้ำตาล นั่นก็หมายความว่ารอบเดือนครั้งแรกของน้องๆกำลังจะมานั่นเอง ถ้ามีตกขาวสีน้ำตาลเป็นลักษณะเป็นลิ่มเลือด แต่ว่าไม่ได้เป็นกลิ่นเหม็นคาวแล้วก็ไม่ทำให้เรารู้สึกคัน ไม่ทำให้เรารู้สึกแสบบริเวณช่องคลอด แสดงว่าตกขาประเภทนั้นปกติดี แล้วให้ลองสะเกตดูไม่ว่าจะเคยมีรอบเดือนแล้วหรือจะยังไม่เคยมีรอบเดือนมาก่อนหลังตกขาวสีน้ำตาลประมาณ 1-3 วันรอบเกือนของเราก็จะมา สำหรับคนที่เคยมีรอบเดือนอยู่แล้วถ้ามีตกขาวลักษณะนี้หมายความว่ามันคือเลือดประจำเดือนที่ค้างจากรอบเดือนรอบที่แล้วที่มันค้างอยู่ในมดลูกนั้นเองแล้วร่างกายก็ขับออกมาโดยธรรมชาติ ตกขาวชนิดนี้ปกติดีไม่ต้องเป็นกังวลค่ะ
- ตกขาวสีน้ำตาลหลังมีรอบเดือน หลังจากที่เราหมดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 2-4 วัน แล้งบังเอิญมีตกขาวสีน้ำตาลออกมา อันนี้เกิดจากการลอกตัวของมดลูกหลังจากที่เรามีรอบเดือนแล้วก็จะมีเยื่อบุในมดลูกบางส่วนที่ยังตกค้างอยู่ มันก็จะลอกตัวแล้วก็ร่างกายเราก็ขับออกมา และด้วยความที่ช่องคลอดของเรามีสภาวะเป็นกรดแล้วเวลาพวกเลือดค้างหรือเยื่อบุที่ค้างจากโพรงมดลูกมันจะมีปริมาณเพียงล็กน้อยเท่านั้น เมื่อออกมาสัมผัสกับอากาศแล้วก็มีปริมาณไม่มากมันก็เลยจะกลายเป็นสีน้ำตาล ตกขาวลักษณะนี้ไม่มีกลิ่นคาวมากไม่แสบไม่คัน ตกขาวทั้งสองชนิดนี้ไม่ว่าจะเป็นแบบข้อ 1 ก่อนมีรอบเดือนหรือว่าข้อ 2 หลังมีรอบเดือน ทั้งสองข้อเป็นตกขาวปกติสบายใจได้เลย
- ตกขาวสีน้ำตาลจากการตั้งครรภ์ ถ้ากรณีที่คุณเป็นคนที่มีคู่ครอง มีแฟนแล้ว มีสามี แล้วมีกิจกรรมโดยที่เราไม่ได้คุมกำเนิดแล้วบังเอิญเรามีตกขาวสีน้ำตาลออกมาหรือว่าบางคนมีตกขาวสีน้ำตาลออกมาร่วมกับอาการปวดท้องน้อยคล้ายๆกับอาการก่อนมีรอบเดือน อันดับแรกเลยที่แนะนำให้ทำคือทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเองก่อน โดยการซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์จากร้านขายยา แล้วก็ใช้ปัสสาวะแรกของวันตอนเช้าทดสอบดูก่อน เพราะว่าตกขาวสีน้ำตาลในลักษณะนี้ถ้าคุณมีอาการปวดท้องร่วมด้วยอาจจะเกิดจาก 2 สาเหตุต่อไปนี้
-เกิดจากการฝังตัวอ่อนเมื่อมีการปฏิสนธิแล้วตัวอ่อนมีการฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูกของเรา ระหว่างที่ตัวอ่อนฝังตัวก็จะมีเลือดออกมาได้ในปริมาณเล็กน้อยจะเป็นลักษณะเหมือนเลือดหยดจะออกมาเป็นสีแดงซึ่งมันไม่มากแล้วพอสัมผัสกับอากาศมันก็จะกลายเป็นสีน้ำตาลถ้าเป็นในลักษณะนี้ไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใดแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์
-จะเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ หรือว่าอาจจะเป็นภาวะแท้งคุกคามก็ได้ ถ้ากรณีที่คุณยังคงมีตกขาวสีน้ำตาลออกมาเรื่อยๆทุกวันบางครั้งที่ออกมา ออกมากะปริดกะปรอยมีเลือดสีแดงร่วมด้วยแล้วก็มีอาการปวดท้องมากเป็นต่อเนื่องอยู่ 2-3 วันแล้วก็ไม่ดีขึ้นลักษณะนี้ให้รีบไปพบสูตินารีแพทย์เพื่อตรวจสอบ เพราะว่าอาจจะเป็นภาวะแท้งคุกคามหรือว่าเป็นภาวะการตั้งครรภ์นอกมดลูกก็ได้
- ตกขาวสีน้ำตาลจากมดลูกผิดปกติ หากตกขาวสีน้ำตาลของคุณมีอาการมีกลิ่นเหม็นเป็นฟองแล้วคุณมีอาการปัสสาวะแสบขัดร่วมด้วยแล้วก็มีอาการคันบริเวณช่องคลอด กรณีนี้ตกขาวสีน้ำตาลคุณอาจจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเชื้อราหรือภาวะผิดปกติต่างๆของมดลูก เช่น มดลูกอักเสบ มีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก เยื่อบุมดลูกหนาตัว มีเนื้องอกในมดลูก มะเร็งปากมดลูกหรือว่ามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หากใครมีอาการลักษณะนี้อย่าปล่อยไว้นานควรจะรีบหาเวลาไปพบสูตินารีแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยจะได้รับการรักษาให้เร็วที่สุด
- ตกขาวสีน้ำตาลจากยาบางชนิด ตกขาวสีน้ำตาลจากการที่เราทานฮอร์โมน ทานยาสมุนไพรบางชนิดบางชนิด หรือทานวิตามินบางชนิด ถ้าใครที่พบว่าตัวเองมีตกขาวสีน้ำตาลไม่แสบไม่คันไม่ใช่ก่อนหรือมีหลังมีรอบเดือนแต่เป็นหลังจากที่เรารับประทานฮอร์โมนตัวใหม่ๆ รับประทานยาสมุนไพรตัวใหม่ๆ หรือรับประทานวิตามินตัวใหม่ๆ ก็ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรที่จ่ายยาชนิดนั้นให้กับเรา เพราะว่าอาจจะเป็นผลจากการที่เราทานอาหารเสริมในกลุ่มเหล่านี้ก็ได้ จริงๆแล้วไม่ได้เป็นอันตราย
กล่าวโดยสรุป
จบครบ 5 ข้อแล้ว หลายๆคนคงได้คำตอบกันไปแล้วว่าตกขาวสีน้ำตาลที่ตัวเองเป็นอยู่มันน่ากังวลหรือเปล่าถ้าใครเข้าเคส หรือเข้าข่ายที่ไม่น่าไว้วางใจก็รีบไปพบแพทย์นะคะ ซึ่งส่วนใหญ่หลายๆเคสจะเป็นแบบปกติ อยากให้สบายใจกันได้เลยค่ะ
แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co ในบทความต่อไปกันนะคะ