Home สุขภาพดี สุขภาพ ถ่ายเป็นเลือด มีเลือดปนอุจจาระ เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

ถ่ายเป็นเลือด มีเลือดปนอุจจาระ เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

ริดสีดวง
ริดสีดวง

เช็คอาการด่วน!! ถ่ายเป็นเลือด มีเลือดปนอุจจาระ เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

ถ่ายเป็นเลือดพบได้บ่อย แต่จะมีใครรู้หรือไม่ว่าแท้ที่จริงแล้วการถ่ายเป็นเลือดอาจจะอันตรายมากกว่าที่คิด น้อยสุดก็คงจะเป็นริดสีดวงทวาร รุนแรงสุดก็คงเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย คำถามคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการถ่ายเป็นเลือดบ่งบอกถึงโรคอะไรกันแน่ วันนี้ uHealthy.co ได้รวบรวมโรคต่างๆที่มีอาการของการถ่ายเป็นเลือดมาให้แล้วค่ะ

ถ่ายเป็นเลือด

การถ่ายเป็นเลือด เกิดความผิดปกติข้างในระบบทางเดินอาหาร  การวินิจฉัยโรคสามารถสังเกตได้จากจำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นเลือด หรือปริมาณเลือดที่ออกมาในขณะถ่ายอุจจาระ หากมีเลือดออกมามากมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสเกิดโรคมากกว่าปกติ หรือมีเลือดหยด/ไหลหลังจากถ่ายอุจจาระทุกครั้ง ซึ่งอาการแบบนี้อาจเกิดจากบาดแผลที่เส้นเลือดดำส่วนปลายทวาร ซึ่งการบาดนี้อาจจะเกิดจากก้อนอุจาระเสียดสีกับเยื่อผิวหนัง และถ้าหากถ่ายอุจจาระออกมาแล้วมีเลือดอย่างเดียว บ่งบอกได้ว่ามีเลือดออกในลำไส้ใหญ่มากกว่าปกติ และลำไส้ใหญ่มีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้น

โรคที่เกี่ยวข้องจากความผิดปกติของลำไส้ใหญ่

1.โรคริดสีดวงทวาร หมายถึง การที่บริเวณทวารหนักมีกลุ่มของหลอดเลือดดำตรงบริเวณสุดปลายของลำไส้ใหญ่และที่ขอบรูทวารหนักก็จะมีก่อนเนื้อ หรือติ่งโป่งพองและยื่นออกมาให้เห็น ซึ่งจะยากลำบากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งริดสีดวงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

-ริดสีดวงทวารชนิดที่เกิดขึ้นภายใน อธิบายได้ว่า ริดสีดวงประเภทนี้จะไม่มีติ่งโผล่ออกมาให้เห็นและไม่สามารถคลำได้ ซึ่งจะถูกคลุมด้วยเยื่อลำไส้ใหญ่ตอนปลายสุด ในริดสีดวงประเภทนี้จะไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด

-ริดสีดวงทวารชนิดที่เกิดขึ้นภายนอก อธิบายได้ว่า ริดสีดวงประเภทนี้สามารถมองเห็นและสามารถคลำได้ ซึ่งจะถูกคลุมด้วยผิวหนังจึงสามรถทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้ เนื่องจากว่าบริเวณผิวหนังจะมีปลายประสาทรับความรู้สึกอยู่ ทำให้คนที่เป็นริดสีดวงประเภทนี้เกิดความรู้สึกเจ็บได้

อาการเบื้องต้นของริดสีดวงคือขณะที่เรากำลังถ่ายอุจจาระจะมีเลือดออก หรือมีติ่งเป็นก้อนๆแถวๆบริเวณทวารหนัก และอาจจะมีอาการปวด เจ็บ คัน บริเวณที่เป็นริดสีดวงร่วมด้วย ไม่เพียงเท่านั้นบางรายอาจจะมีอาการหน้ามืดวิงเวียนศีรษะเช่นกัน

หากอยากรู้จักกับโรคริดสีดวงเพิ่มเติมเพื่อนๆสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลของโรคริดสีดวงได้ที่ลิงค์

คลิกตรงนี้ >>>> https://uhealthy.co/205

2.ลำไส้ใหญ่อักเสบ หมายถึง ลำไส้อักเสบที่เกิดจากติดเชื้อบางชนิด ยกตัวอย่างเช่น โรคบิดทั้งแบบมีตัวและไม่มีตัว โดยอาการที่เป็นโรคนี้หลักๆ เช่น มีอาการท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ หรือถ่ายอุจจาระบ่อย มีไข้ขึ้น รู้สึกเบื่ออาหาร และถ่ายเป็นเลือด โดยหากมีอาการถ่ายเป็นเลือดแนะนำว่าให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการถ่ายเป็นเลือด เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องต่อไปค่ะ

3.ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่  หมายถึง การเป็นเนื้องอกที่เกิดจากความผิดปกติของกรรมพันธุ์ ส่วนใหญ่พบได้เพศชายมากกว่าเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และเนื้องอกนี้สามารถกลายพันธุ์เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ลักษณะของเนื้องอกสามารถเกิดได้ทุกบริเวณของลำไส้ใหญ่ รูปร่างทรงกลม มีสีค่อนทางชมพู อาจจะมีก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ อาการภายนอกอาจจะไม่แสดงอาการให้เห็น แต่ที่สังเกตได้คือบางครั้งจะมีเลือดออกในลำไส้ใหญ่ ทำให้เวลาถ่ายอุจจาระจะถ่ายเป็นเลือด โดยส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้เพศชายที่อายุมากกว่า 50 ปีเข้าตรวจเช็คลำไส้ใหญ่เพื่อหาติ่งเนื้องอกที่อาจเกิดขึ้นได้

4.มะเร็งลำไส้ใหญ่ หมายถึง การเป็นมะเร็งที่พบบ่อยมากที่สุดทั้งในไทยและทั่วโลก ซึ่งมักจะพบได้ในคนที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ ยกตัวอย่างเช่น ท้องผูก ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด เป็นต้น ผู้ป่วยมักจะมาพบหมอเนื่องจากมีการเสียเลือดจนเป็นโรคโลหิตโลหิตจาง มะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะพบได้ในบริเวณลำไส้ใหญ่ในช่องท้องมากกว่าตรวลำไส้ตรง โรคมะเร็งประเภทนี้จะเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำและบ่อยครั้ง บางส่วนก็อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ ซึ่งจะรักษาไม่หายขาด จึงจำเป็นต้องรักษาโดยใช้การส่องกล้องเพื่อตรวจหาโรค และตัดเนื้อร้ายออกเพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามของโรค

กล่าวโดยสรุป

การถ่ายเป็นเลือด เกิดความผิดปกติข้างในระบบทางเดินอาหาร  การวินิจฉัยโรคสามารถสังเกตได้จากจำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระออกมาเป็นเลือด หรือปริมาณเลือดที่ออกมาในขณะถ่ายอุจจาระ หากมีเลือดออกมามากมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสเกิดโรคมากกว่าปกติ ซึ่งโรคที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น โรคริดสีดวงทวาร, ลำไส้ใหญ่อักเสบ, ติ่งเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ และมะเร็งลำไส้ใหญ่ การถ่ายเป็นเลือด นอกจากโรคดังกล่าวที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้วบางทีอาจจะมาจากสาเหตุอื่นก็ได้ เช่น พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีเลือดสัตว์ หรือกินยาบำรุงเลือดก็ได้ ฉะนั้นแล้วหากใครที่มีอาการถ่ายเป็นเลือด แต่ไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ แนะนำให้ลองรับประทานผักผลไม้ให้ ดื่มน้ำให้มากขึ้น และหมั่นออกกำลังกายอยู่บ่อยๆ จะช่วยบรรเทา/ลดอาการดังกล่าวให้ดีขึ้น แต่ถ้าไม่แน่ใจในอาการของตัวเอง uHealthy.co แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุเพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องดีกว่าค่ะ

แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co ในบทความต่อไปนะคะ

Exit mobile version