Home อาหารเพื่อสุขภาพ ขลู่ สรรพคุณต้านทานอนุมูลอิสระ ต้านเซลล์มะเร็งฯ กับงานวิจัยที่หลากหลาย

ขลู่ สรรพคุณต้านทานอนุมูลอิสระ ต้านเซลล์มะเร็งฯ กับงานวิจัยที่หลากหลาย

ขลู่

ขลู่ : มีผลดีต่อร่างกายของเราอย่างไรทุกคนอยากรู้หรือไม่คะ โดยขลู่เป็นพืชพันธุ์ที่จัดอยู่ในกลุ่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ แน่นอนเลยว่าสรรพคุณของใบขลู่ต้องดีต่อร่างกายมากมายหลายอย่างแน่นอน แล้วใบขลู่มีสรรพคุณที่ดีอย่างไร วันนี้ทาง uHealthy.co มีคำตอบมาให้ทุกคนกันค่ะ

ขลู่ ชื่อสามัญ คือ Indian Marsh Fleabane ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ คือ Pluchea indica (L.) Less.) ขลู่เป็นพืชที่พบมากสุดในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศจีน และประเทศฟิลิปินส์ เป็นต้น ซึ่งจะชอบขึ้นตามพื้นที่ชื้นหรือแฉะ จะขยายพันธุ์โดยการปักชำ ขลู่เป็นพืชที่ปลูกค่อนข้างง่าย เพราะสามารถปลูกได้ในดินแทบจะทุกชนิด ขลู่มีชื่อท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี ว่า หนาดวัว หนาดงิ้ว หนวดวัวหรือหนวดงิ้ว ภาคใต้ เรียกว่า ขลู หรือคลู ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า เพี้ยฟาน ส่วนคนจังหวัดแม่ฮ่องสอน เรียกว่า ขี้ป้าน

ขลู่สรรพคุณต้านทานอนุมูลอิสระ ต้านเซลล์มะเร็งฯ กับงานวิจัยที่หลากหลาย

ประโยชน์ของขลู่

1.นำใบไปลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือใส่ในแกงคั่ว

2.นำใบไปตากแห้ง เพื่อใช้ทำชา ดื่มแก้กระหายน้ำ และช่วยลดน้ำหนัก

3.ยอดอ่อนสามารถรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก หรือกินกับน้ำแกงได้

4.ดอกนำไปทำเป็นยำกับเนื้อสัตว์ต่างๆได้

5.เป็นสมุนไพนที่มีสรรพคุณทางยาหลากหลาย

ขลู่

สรรพคุณของขลู่

1.แพทย์แผนโบราณใช้ใบขลู่สดเพื่อพอกรักษาแผลที่เกิดจากอาการเนื้อตาย และนำใบขลู่มาชงเป็นชาเพื่อใช้รักษาอาการนิ่วในไต ลดอาการอักเสบ บรรเทาอาการปวดหลัง และอาการตกขาว ในประเทศอินโดนีเซียมีรายงานเกี่ยวกับการดื่มน้ำต้มใบขลู่สามารถช่วยทำให้เจริญอาหาร และช่วยในการย่อยอาหาร ยังมีรายงานอีกว่าการใช้น้ำต้มใบขลู่เป็นยาจะช่วยแก้ท้องเสีย และบรรเทาอาการไอได้

2.ผลการวิจัยในปีพ.ศ. 2553 (ที่มา : Andarwulan และคณะ) บ่งบอกว่าสารสกัดจากใบขลู่มีฤทธิ์ดีช่วยต้านอนุมูลอิสระ และสามารถยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของกรดไขมันได้ดีมาก ซึ่งนอกจากนี้แล้วได้ยังมีรายงานทางเภสัชวิทยาหลายฉบับยืนยันว่าสารสกัดจากใบขลู่ด้วยการแช่ในเอทานอลเข้มข้นร้อยละ 70 เป็นระยะเวลา 2 วัน พบว่ามีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ และลดอาการปวดในสัตว์ทดลองได้ สำหรับสารสกัดจากใบขลู่ด้วยการแช่ในเมทานอลเข้มข้นร้อยละ 80 เป็นระยะเวลา 7-14 วัน พบว่ามีฤทธิ์ช่วยในการต้านโรควัณโรคได้

3.มีรายงานการวิจัย พบว่าน้ำต้มใบขลู่ที่อุณหภูมิ 75 – 80 องศาเซลเซียสมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งได้ และการสกัดน้ำแห้งด้วยวิธีระเหิดเป็นไอ พบว่ามีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งสมอง และเซลล์มะเร็งปากมดลูกในจานเพาะเลี้ยงเซลล์ได้ หากใช้ความเข้มข้นที่ระดับ 100-300 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ทั้งนี้แล้วฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง คิดว่าน่าจะมาจากสารกลุ่มฟีโนลิก และฟลาโวนอยด์ในใบขลู่ เพราะเคยมีรายงานศึกษาด้านเภสัชวิทยาว่ากรดคลอโรจีนิกมีฤทธิ์ช่วยในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งในลำไส้ใหญ่ และเซลล์ตับในสัตว์ทดลองได้ดี ส่วนกรดคาเฟอิกก็มีฤทธิ์ที่จะช่วยในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งปากมดลูกในจานเพาะเลี้ยงของเซลล์ทดลองได้

  1. มีรายงานการวิจัยในปี พ.ศ. 2556 เกี่ยวกับฤทธิ์ที่ช่วยในการต้านการอักเสบของส่วนสกัดน้ำจากชาใบขลู่ที่ผลิตในจ.จันทบุรี โดยใช้วิธีการต้มในน้ำเดือดเป็นระยะเวลา 30 นาที จากนั้นให้นำส่วนสกัดน้ำ มาทำแห้งด้วยวิธีระเหิดเป็นไอ ค้นพบว่าที่ความเข้มข้น 25-400 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งการผลิตสารสื่อกลางการอักเสบไนตริกออกไซด์ และพรอสตาแกลนดิน E2 ในเซลล์แมคโครฟาจ ที่ถูกกระตุ้นด้วยไลโพพอลิแซกคาไรด์ และพบว่า ส่วนสกัดน้ำชาจากใบชาขลู่ประสิทธิภาพคือมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีเช่นกัน

ข้อควรระวัง

ใบของต้นขลู่ที่ขึ้นในป่าชายเลนอาจตามธรรมชาติจะมีปริมาณโซเดียมสูงมาก ดังนั้นผู้ที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจไม่ควรรับประทานใบขลู่ในปริมาณมาก หากต้องการรับประทานให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ถึงแม้ว่าปัจจุบันได้มีรายงานการศึกษา งานวิจัยต่างๆที่สามารถแสดงให้เห็นถึงฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดจากใบขลู่ในเรื่องการต้านทานอนุมูลอิสระ ต้านทานการอักเสบ และต้านเซลล์มะเร็งยังไง แต่การบริโภคหรือดื่มใบขลู่สดหรือดื่มชาขลู่ในปริมาณที่สูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของร่างกายได้เช่นกัน

กล่าวโดยสรุป

ขลู่ ชื่อสามัญ คือ Indian Marsh Fleabane ชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ คือ Pluchea indica (L.) Less.) ขลู่เป็นพืชที่พบมากสุดในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ประเทศจีน และประเทศฟิลิปินส์ เป็นต้น ซึ่งจะชอบขึ้นตามพื้นที่ชื้นหรือแฉะ ใช้รักษาอาการนิ่วในไต ลดอาการอักเสบ บรรเทาอาการปวดหลัง และอาการตกขาว ช่วยทำให้เจริญอาหาร และช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยแก้ท้องเสีย บรรเทาอาการไอ ฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ และลดอาการปวด และมีฤทธิ์ช่วยในการต้านโรควัณโรคได้อีกด้วย

แม้ประโยชน์ของขลู่จะมีมาก แต่ก็ควรทานในปรอมาณที่เหมาะสมพอควร และข้อควรระวังคือใบของต้นขลู่ที่ขึ้นในป่าชายเลนอาจตามธรรมชาติจะมีปริมาณโซเดียมสูงมาก ดังนั้นผู้ที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจไม่ควรรับประทานใบขลู่ในปริมาณมาก หากต้องการรับประทานให้ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้นะคะ

แล้วพบกันใหม่กับสาระดี ๆในบทความเพื่อสุขภาพ เรื่องราวการดูแลสุขภาพจาก uHealthy.co  ในบทความต่อไปกันค่ะ

 

Exit mobile version